วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อาหารสมุนไพร




แกงเลียงกุ้งสด
 กุ้งขนาดกลาง 350 กรัม


   (ล้างทำความสะอาดและปอกเปลือก)
* ข้าวโพดอ่อนหั่น 1 ถ้วยตวง
* ผักสดอื่นๆ หั่น 1 ถ้วยตวง
* ใบแมงลัก 1/2 ถ้วยตวง
* น้ำเปล่า 4 ถ้วยตวง (หรือน้ำซุปผัก)
    ส่วนผสมน้ำพริกแกงเลียง :
     * พริกไทยเม็ด 12 เม็ด
     * หอมแดง 12 ลูก
     * กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
     * กุ้งแห้ง 1/2 ถ้วยตวง
     * น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
ใบแมงลัก
แกงเลียงกุ้งสด
 

     วิธีทำทีละขั้นตอน
1. นำส่วนผสมน้ำพริกแกงเลียงไปโขลกให้เข้ากันโดยใช้ครก หรืออาจใช้เครื่องปั่นอเนกประสงค์แทนก็ได้
2. ต้มน้ำ (หรือน้ำซุปผัก) ในหม้อ ใส่น้ำพริกแกงเลียงลงไป (่ทำในขั้นตอนที่หนึ่ง) คนเรื่อยๆให้เครื่องแกงละลาย
3. เมื่อน้ำซุปเดือด ปรุงรสด้วยน้ำปลา รอสักพักจึงใส่กุ้งและผักสดลงไป
4. เมื่อกุ้งและผักสุกดีแล้ว ถ้าต้องการปรุงรสเพิ่มสามารถปรับได้ตามที่ต้องการ เสร็จแล้วปิดไฟ
5. ตักใส่ถ้วย และเสริฟทันทีพร้อมข้าวสวยร้อน

ต้นแมงลัก




สรรพคุณ
ลำต้น : ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ไอ ขับเหงื่อ ขับลม กระตุ้น และแก้โรคทางเดินอาหาร เป็นต้น
ใบ : ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง หรือใช้กากใบที่ตำทาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด
เมล็ด : ใช้เมล็ดแห้ง เมื่อนำมาแช่น้ำจะเกิดการพองตัวแล้วใช้กินเป็นยาระบาย ลดความอ้วน ช่วยดูดซึมน้ำตาลในเส้นเลือด ขับเหงื่อ และช่วยเพิ่มปริมาณของอุจจาระเป็นเมือกลื่นในลำไส้

 

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

น้ำยาอเนกประสงค์

น้ำยาอเนกประสงค์



1.การทำน้ำยาอเนกประสงค์ (สูตรชีวภาพ)
ใช้ล้างจาน ล้างพื้นห้องน้ำ พื้นบ้าน ครัว ล้างมือ
เครื่องมือหรืออุปกรณ์
- ถังพลาสติกสีเข้มมีฝาปิดมิดชิด ขนาดความจุ 32 แกลลอน 1 ใบ
- เครื่องชั่งน้ำหนัก
- ถ้วยตวงน้ำ 1 ใบ
- ช้อน ไม้พาย สำหรับคน 1 คัน
- ผ้าขาวบางสำหรับกรอง 1 ผืน
- ช้อนตวง 1 ชุด

วัสดุที่ทำน้ำหมักชีวภาพ
- เปลือกสับปะรด 30 กิโลกรัม (สรรพคุณเป็นกรด ขจัดคราบมัน)
- หัวเชื้อ EM สด 1 กก.หรือ EM ขยาย(รุ่นลูก) 1.5 กก.(สรรพคุณช่วยย่อยสลายสับปะรด)
- น้ำตาลทรายแดง หรือโอวทึ้ง 1 กิโลกรัม (เป็นอาหารของ EM )
- น้ำสะอาดไม่มีคลอรีน (น้ำประปาพักไว้ 1 คืน ก่อนนำมาใช้) ใส่ท่วมวัสดุ

ขั้นตอนการดำเนินการ
1. ล้างกระป๋องและตะกร้าพลาสติกทิ้งไว้ให้แห้ง นำตะกร้าใส่ในกระป๋องพลาสติก
2. ชั่งเปลือกสับปะรด 30 กิโลกรัม จากนั้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด หรือแช่ใน EM ขยาย ผสมน้ำสะอาด ในอัตรา 1:100 เพื่อล้างสารเคมีที่ติดมากับเปลือก โดยแช่ทิ้งไว้ประมาณ 1/2 ชั่วโมง
3. สับเป็นชิ้นเล็ก โดยวางถุงพลาสติกบนจานรองก่อน แล้วนำไปเทใส่ในตะกร้า
4. น้ำตาลทรายแดง ผสมกับหัวเชื้อ EM สด คนน้ำตาลทรายแดงจนละลายหมด
5. นำวัสดุข้อ 3 กับ 4 เทลงในตะกร้าสับปะรด คนให้เข้ากัน เติมน้ำสะอาดที่เตรียมไว้ใส่ให้ท่วมเนื้อวัสดุ ปิดฝาทิ้งไว้ 15 วัน เมื่อหมักไว้ 2-3 วัน คนให้เข้ากันอีกครั้ง
ถังที่หมักควรเก็บในที่มีแสงน้อย ภายในห้องหรือในที่ร่ม ที่อุณหภูมิปกติ เพราะ EM ชอบความมืด และต้องอยู่ในที่ไม่ร้อนจัด เย็นจัด การหมักจะเกิดฝ้าขาวเหนือผิวน้ำ แสดงว่าการหมักได้ผล แสดงว่า EM พักตัว เมื่อกวนลงไปฝ้าสีขาวจะสลายตัวกลับไปอยู่ในน้ำเหมือนเดิม นำน้ำสกัดชีวภาพที่ได้กรองด้วยผ้าขาวบาง โดยไม่ต้องบีบคั้นกาก จากนั้นนำน้ำสกัดชีวภาพใส่ถังปิดไว้ให้แน่นและปล่อยตกตะกอนอีก 2 – 3 วัน (กากใส่ในตะกร้าปล่อยให้น้ำหยดเอง หากคั้นกากน้ำสกัดที่ได้สีจะขุ่นไม่น่าใช้ ส่วนกากที่เหลือนำไปผสมดินปลูกต้นไม้ก็ได้ )

หากต้องการฟอง มีความหนืดเหมือนน้ำยาล้างจานทั่วไป ให้เติม N70 (ผงหนืด), เกลือแกง (ที่ใช้รับประทาน) ดังนี้ N70 5% , เกลือแกง 4% (% ของน้ำหนักน้ำสกัดชีวภาพ)ตัวอย่าง น้ำสกัดชีวภาพ 1 ลิตร(1,000cc) เติม N70 = 50 cc (1,000 CC X 5%)หรือ 5 ช้อนโต๊ะ, เกลือแกง = 40 cc (1,000 CC X 4%) หรือ 4 ช้อนโต๊ะ (1 ช้อนโต๊ะ = 10 CC)
วิธีการผสม
นำน้ำสกัดชีวภาพ ผสมกับ N70 50 cc และ เกลือแกง 40 cc (N70 เกลือแกง กวนละลายให้เข้ากันก่อน) ปล่อยทิ้งไว้จนฟองหาย จึงนำมาบรรจุขวดพลาสติก หากต้องการสี กลิ่น ให้เติมตามใจชอบ น้ำยาล้างจานให้กลิ่นมะนาวแทนกลิ่นใบเตยเป็นที่นิยม หากต้องการขัดพื้นห้องน้ำ ทำความสะอาดเครื่องสุขภัณฑ์ ทำน้ำยาล้างมือก็เปลี่ยนสี กลิ่น ตามใจชอบ (สี กลิ่น N70 หาซื้อได้แถวสี่แยกวัดตึก พาหุรัด หรือร้านขายเคมีภัณฑ์)
หมายเหตุ น้ำยาล้างจานสูตรนี้ระยะแรกๆ สีจะขุ่นต่อมาจะตกตะกอน กลิ่นจะฉุนคล้ายไวน์มากขึ้นเรื่อยๆ และสีจะใสน่าใช้ยิ่งขึ้นด้วย

วิธีใช้
ใช้ล้างจาน พื้นห้องน้ำ พื้นบ้าน โดยไม่ต้องผสมน้ำ ใช้เหมือนน้ำยาตามท้องตลาด การล้างจานจำนวนมาก ควรแช่จานในน้ำยาล้างจานผสมน้ำ (สัดส่วนน้ำยาล้างจาน 1 ส่วน : น้ำ 5 ส่วน) แช่ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก่อนล้าง เพื่อให้สะอาดทั่วถึง แล้วล้างน้ำสะอาดจนกว่าแน่ใจว่าสะอาด ควรตากจานให้แห้งก่อนนำไปใช้ เพื่อป้องกันการตกค้างของจุลินทรีย์ในหยดน้ำที่เกาะอยู่บนจาน สรรพคุณ ล้างจาน พื้นห้องน้ำ พื้นบ้าน ได้สะอาด ขจัดคราบมันในครัวได้เป็นอย่างดี ไม่มีกลิ่นตกค้าง ถนอมมือ และที่สำคัญไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
หมายเหตุ 1.น้ำยาอเนกประสงค์สูตรนี้ สามารถใช้เป็นน้ำยาล้างมือได้อย่างปลอดภัยทำให้มือนุ่ม โดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ 1 ส่วน ต่อ น้ำสะอาด 2 ส่วน เติม มัยลาพ 3 กก. ต่อ สับปะรด 20 กก. นำมัยลาพมาต้มเดือด ปล่อยให้เย็นแล้วผสม จะทำให้มือนุ่ม
วัสดุที่ใช้แทนเปลือกสับปะรด ได้แก่ มะขามเปียก มะกรูด มะเฟือง กากกระเจี๊ยบที่ต้มน้ำแล้ว เปลือกมะนาว เปลือกส้ม เปลือกเสาวรส เปลือกส้มโอ หรือเปลือกผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวๆ เพราะมีสภาพเป็นกรดเหมือนกับสับปะรด ฤดูกาลไหน วัสดุใดมีราคาถูกก็ใช้วัสดุนั้น ตามหลักควรใช้เปลือก หลังจากหมักทำน้ำยาแล้วก็เอากากที่หมักแล้วมาทำปุ๋ย ไม่มีการทิ้งเปล่า การทำน้ำยาอเนกประสงค์ จำนวนมากน้อยให้ใช้สัดส่วนดังกล่าวข้างต้น โดยการคำนวณบัญญัติไตรยางค์
น้ำยาล้างจาน

สูตรน้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์
น้ำ​ยาล้างจาน​ ​น้ำ​ยา​เอนกประสงค์สูตรอาจารย์พูนสวัสดิ์
ส่วน​ผสม









2.น้ำหมักชีวภาพสูตรมะกรูด












ส่วนผสมคือ1. ตัวน้ำยาซักผ้าหรือซักล้างใช้สาร N 70 ราคากิโลกรัมละ 70-80 บาท
2. เกลือเพื่อใช้ปรับความหนืดความข้น ความเหลวของน้ำยาประมาณ 1 ก.ก. (12 บาท)
3. น้ำชีวภาพอัญชันที่เราหมักได้จากการแนะนำคราวที่แล้ว สามารถทำลายเชื้อแบคทีเรีย และให้สีสวย โดยไม่จำเป็นต้องใช้สารกันบูด ประมาณ 1 แก้ว (ขวดน้ำผลไม้ 250 มล.) 4. น้ำเปล่า 8-10 ลิตรขั้นตอนการทำ1. เตรียมส่วนผสมทั้ง 4 อย่าง
2. เท N 70 ใส่ลงในถังใช้ไม้พายคนเบาๆไปทางเดียวกัน ให้ขึ้นขาวฟู ถ้าหนืดเกินไป รู้สึกหนักมือให้ค่อยๆโรยเกลือลงไป (หรืออาจผสมน้ำเกลือใช้แทนได้)
3. จากนั้นค่อยๆใส่น้ำชีวภาพอัญชันเพื่อให้มีสีสวยงาม4. ทีนี้ก็ทำสลับกันเรื่อย ถ้าหนืดเหนียวให้เติมเกลือ แล้วเติมน้ำ ถ้าเหลวไปจากการเติมน้ำมากก็เติมเกลือ จะทำให้หนืดข้นเช่นเดิม ทำเช่นนี้ไปเรื่อยจนส่วนผสมที่เตรียมไว้หมดสุดท้ายตรวจดูความเหลวตรงความพอใจของเรา ทิ้งไว้ 1 คืนอาจทำให้หนืดขึ้นอีกเล็กน้อย ทิ้งไว้ให้ฟองยุบตัว รุ่งเช้าน้ำยาเอนกประสงค์ที่ได้ จะใสและไม่มีฟอง จากนั้นให้เรากรอกใส่ภาชนะที่ต้องการเก็บไว้ใช้ เราจะได้น้ำยาสีสวย สีม่วง-อมชมพูจากการใช้มาอย่างต่อเนื่อง น้ำยาอเนกประสงค์อัญชันจะมีการเปลี่ยนสีเนื่องจากเราไม่ใส่ผงสีในขั้นตอนการทำ
ดังนั้นสีจึงซีดง่ายกลาย
เป็นสีขาว
วิธีการแก้ไข : ผู้เขียนเติมหัวเชื้อชีวภาพอัญชันที่หมักไว้ลงไป 1 หยดหรือมากกว่า แล้วแต่ชอบ เขย่าให้เข้ากัน ก็ได้สีสวยดังเดิม

สรุปเปรียบเทียบ - จากการใช้ได้เห็นความแตกต่างคือ
- หากลืมตากผ้าในทันที ทิ้งไว้หลายชั่วโมง ผ้าก็ไม่เหม็นทั้งนี้เนื่องจากน้ำชีวภาพอัญชัน
มีสรรพคุณดับกลิ่น กำจัดแบคทีเรีย/จุลินทรีย์ตัวร้าย
- เมื่อใช้ล้างจาน มือจะไม่ลอกเป็นขุยเหมือนใช้น้ำยาล้างจานตามท้องตลาด เนื่องจากเราไม่ใช้สารขจัดคราบ หากในบางจุดของภาชนะยังมี
ความมันอยู่ ให้เทน้ำยาชีวภาพอัญชันลงไป แล้วล้างเฉพาะที่ ล้างทำความสะอาดอีกครั้ง จะพบว่าขจัดความมันได้ดี

  • N70 (หัวแชมพู)                     1     ​กิ​โลกรัม
  • F24 (สารขจัดคราบไขมัน)      1/2  ​กิ​โลกรัม
  • เกลือ​                                    1-1.5 ​กิ​โลกรัม
วิธีทำ
  1. ต้มเกลือ​โดย​ใช้​น้ำ​ 2-3 ​ลิตร​ ​จนเกลือละลายหมด​ ​ตั้ง​ไว้​จนเย็น
  2. เอา​ N 7O ​ผสม​กับ​ F 24 ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​ราว​ 10 ​นาที
  3. ค่อยๆ​เทน้ำ​เกลือลงไปทีละน้อยๆ​ ​แล้ว​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​จนหมด
  4. หลัง​จาก​นั้น​ ​เติมน้ำ​ลงไป​และ​กวนเรื่อยๆ​ ​โดย​ใช้​น้ำ​ประมาณ​ 10-15 ​ลิตร​ ​ทั้ง​นี้​ให้​สังเกตว่า​ ​ความ​ข้นของน้ำ​ยาอเนกประสงค์​ ​หาก​ยัง​ข้น​หรือ​เหนียวมาก​ ​ก็​สามารถ​เติมน้ำ​เปล่า​ ​ลงไป​ได้​อีก​ ​จนเห็นว่า​ ​ได้​ความ​ข้นที่​เหมาะสม
  5. ใส่​หัวน้ำ​หอม​ ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​แล้ว​ตั้งทิ้ง​ไว้​จนฟองยุบ​(1 ​คืน) ​แล้ว​ตัก​ใส่​ขวดเอา​ไว้​ใช้
นอก​จาก​นี้​ ​อาจ​จะ​ใช้​น้ำ​ผลไม้​เปรี้ยว​ ​หรือ​น้ำ​หมัก​จาก​ผลไม้​เปรี้ยวทดแทนน้ำ​ได้​บ้าง​
 ​ไม่​ยาก​ใช่​มั๊ยครับ​ ​ตอนที่ผมทำ​ผม​ใช้​ส่วน​ผสมครึ่งหนึ่งของสูตรนี้ก็​ได้​น้ำ​ยาล้างจานประมาณ​ 10 ​ลิตร​ ​ด้วย​เงินลงทุน​ 55 ​บาท​ ​แจกคน​ใน​ละ​แวก​ใกล้ๆ​ ​บ้านจนหมด​ ​ผลตอบรับที่กลับมา​เป็น​เสียงเดียว​กัน​ว่า​ "ดีกว่าน้ำ​ยาล้างจานยี่ห้อ​..." ​ไม่​พูด​ถึง​นะครับว่ายี่ห้ออะ​ไร
เห็นมั๊ยครับว่า​ถ้า​สามารถ​ทำ​เอง​ได้​ประหยัดกว่าซื้อตั้งเยอะ​ ​เรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงอย่าทำ​ให้​เป็น​เรื่องยาก​ ​ถ้า​อันไหนที่ทำ​แล้ว​สามารถ​พึ่งตัวเอง​ได้​ก็​เป็น​ส่วน​หนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียง​

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่



การปลูกไผ่เลี้ยง

พันธุ์ไผ่เลี้ยง

1.พันธ์หนัก เป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตหน่อได้ปกติในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – สิงหาคม) แต่ถ้าจะผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูหรือต้นฤดูฝน ผลผลิตที่ได้จะไม่คุ้มกับทุน 2.พันธุ์เบา เป็นพันธุ์ที่สามารถให้หน่อไผ่ ตกในช่วงฤดูฝน และสามารถผลิตเป็นหน่อไผ่นอกฤดูได้ดีมาก เพราะมีลักษณะเด่น คือ ถ้าได้น้ำ ได้ปุ๋ยแล้วจะให้หน่อทันที ถ้าเกษตรกรปลูกมีการบำรุงรักษาดี ผลผลิตก็ยิ่งจะเพิ่มมากขึ้น ฉะนั้น จึงขอแนะนำให้ผู้ที่จะปลูกไผ่เลี้ยงขายหน่อ ควรปลูกพันธุ์เบา

การคัดเลือกพื้นที่ปลูกสวนไผ่
สภาพพื้นที่ที่เหมาะสำหรับปลูกไผ่เลี้ยง ควรมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ถ้าเป็นดินเหนียว ดินโคกลูกรัง การเจริญเติบโต และการให้หน่อจะไม่ดี
การเตรียมดินปลูก
-ไถครั้งแตกด้วยรถไถผาน 3 ทิ้งไว้ประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ เพื่อกำจัดวัชพืช
-ไถครั้งที่ 2 ด้วยรถไถผาน 7 เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย เหมาะแก่การปลูกพืช



ระยะปลูก
สามารถปลูกได้หลายขนาด ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของการใช้เครื่องมือในการจัดการแปลงหลังปลูก
1.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 2 x 4 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 200 ต้น
2.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 4 x 4 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 100 ต้น
3.ระยะระหว่างต้น x ระหว่างแถว 4 x 6 ม. 1 ไร่ ปลูกได้ 66 ต้น
ที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรทั่วไป ควรปลูกระยะ 4 x 4 ม.

การปลูก
1.ปลูกด้วยตอชำถุง (มีค. – กค.) ขุดหลุ่มขนาด 50 50 50 ซม. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักประมาณ 1 ปุ้งกี๋ คลุกเคล้าเข้ากับดินลงในหลุมปลูก ฉีกถุงดำออกอย่าให้ดินแตก นำลงหลุมกลบดินให้แน่น แล้วรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง (ถ้าฝนไม่ตก)
2.ปลูกด้วยเหง้า หรือตอไผ่ที่ไม่ได้ชำถุง โดยขุดเหง้าหรือตอไผ่ แล้วนำไปปลูกทันทีด้วยการขุดหลุมเฉพาะ ไม่ต้องรองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอก ปลูกแล้วกลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ช่วงที่เหมาะสมในการปลูกโดยวิธีนี้ คือ เดือน มค. – เมย. เหมาะสำหรับผู้ที่มีแหล่งน้ำและสะดวกในการให้น้ำ


การดูแลรักษา
-ถ้าไม่มีฝนตกควรรดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
-กำจัดวัชพืชทำความสะอาดแปลงอย่าปล่อยให้หญ้าคลุม
-เมื่อไผ่ปลูกได้ 7 เดือน ควรตัดแต่งกิ่งและลำต้นที่เล็กออกให้เหลือไว้แต่ต้นที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 ซม. แล้วพรวนดินรอบกอ ให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 5 – 10 กก. คลุมโคนด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง หรือฟางข้าว เพื่อเก็บรักษาความชื้นในดิน ถ้ามีน้ำในไร่นาควรให้น้ำตลอดช่วงฤดูแล้ง เพื่อเร่งการเจริญเติบโต
-เมื่อไผ่มีอายุได้ 8 เดือน ขึ้นไป ก็จะสามารถให้หน่อและเพิ่มจำนวนต้นในแต่ละกอ เพื่อจะได้ปริมาณจำนวนต้นไว้ผลิตหน่อในฤดูต่อไป

เทคนิคการตัดแต่งกอและกิ่งไผ่
-หลักสำคัญในการตัดแต่งกิ่งไผ่ อยู่ที่ปีที่ 2 ซึ่งจะต้องตัดต้นที่แก่และยู่ชิดกันออก โดยใช้เลื่อยตัดแต่งกิ่งเฉพาะ จะสะดวกให้เหลือจำนวนต้นไว้ในแต่ละกอ ไม่เกิน 12 ตัน ต่อไป (การตัดแต่งควรตัดทุกปีอย่างต่อเนื่อง ปีละ 1 ครั้ง)
-ฤดูกาลที่เหมาะสมในการตัดแต่งกิ่ง คือเดือน ธค. – มค.
-หลังตัดแต่งเสร็จให้ใส่ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก กอละประมาณ 15 – 20 กก. แล้วให้น้ำทันที เพื่อเร่งให้ได้ผลผลิตหน่อไผ่ช่วงต้นฤดู ซึ่งขายได้ราคาสูง
-ถ้าจะเร่งการออกหน่อ และเพิ่มผลผลิตให้มากยิ่งขึ้น ให้เสริมด้วยปุ๋ยเคมี สูตร 25-7-7 หรือ 46-0-0 กอละประมาณ 2 กำมือ โดยใส่รอบๆ กอ แล้วจึงกลบด้วยปุ๋ยคอกแล้วให้น้ำทันที ถ้าไม่มีน้ำให้ก็ต้องรอเก็บผลผลิตในฤดูฝนตามปกติ แต่ผลผลิตก็จะได้มากกว่า สวนที่ไม่มีการตัดแต่งใส่ปุ๋ยอย่างแน่นอน



การเก็บผลผลิตหน่อไผ่
-ขนาดความยาวของหน่อไผ่ที่เหมาะสม 40 – 50 ซม. หรือ ถ้าเห็นหน่อไผ่พ้นดินขึ้นมาให้รออีก 4-6 วัน ก็เก็บเกี่ยวได้
-ช่วงเดือนสิงหาคม ควรคัดเลือกหน่อที่มีลักษณะสมบูรณ์และแตกหน่อออกอยู่ห้างกอไว้เป็นลำต้นต่อไป
-ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ 1,700 กก.
-รายได้เฉลี่ย 17,000 บาท/ไร่


การขยายพันธุ์ไผ่
การขยายพันธุ์ไผ่เลี้ยง ทำได้ 2 ลักษณะ

1.ขยายพันธุ์โดยการขุดเอาเหง้าของลำต้นไผ่ที่มีอายุ 1 ปี แต่ไม่ควรเกิน 1 ปีครึ่ง เมื่อขุดออกมาแล้วควรตัดให้เหลือตอไว้ประมาณ 40 ซม. และตัดแต่งรากออกพอประมาณ เพื่อสะดวกในการปักชำ ถุงที่เหมาะสมควรเป็นถุงดำขนาด 5 x 11 นิ้ว ขึ้นไป ส่วนผสมของดินบรรจุถุง คือ หน้าดิน 1 ส่วน และแกลบดำ 1 ส่วน ผสมคลุกเคล้า แล้วใส่ลงในถุงนำเหง้าไผ่ที่เรียมไว้ลงถุงกลบดินแกลบให้แน่น ตั้งถุงเรียงไว้กลางแจ้ง รดน้ำให้พอชุ่มอยู่ตลอดประมาณ 15 วัน ก็จะเริ่มแตกแขนง
ครบ 2 เดือน นำไปปลูกได้ ช่วงระยะเวลาที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์ตามแบบที่ 1 คือ เดือน กพ. – พค.

2.ขยายพันธุ์โดยการใช้เหง้า จากส่วนที่เป็นเหง้าของหน่อที่ถูกตัดไปขาย แล้วเหลือตอติดดินไว้แตกแขนงขึ้นมารอให้แขนงที่แตกมาใหม่ มีใบแก่ (แตกใบขิง) จึงขุดเหง้าพร้อมแขนงนี้มาชำถุง แต่ต้องตัดกิ่งแขนงส่วนบนออกให้เหลือติดเหง้าขึ้นไปยาวประมาณ 30 – 40 ซม. ใช้วัสดุชำเหมือนกับการขยายพันธุ์แบบที่ 1 ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการชำแบบที่ 2 คือ ตั้งแต่เดือน พย. – พค.



โรคและแมลงศัตรูไผ่
-โรค ยังไม่มีปรากฏที่ชัดเจน
-แมลงศัตรู
1.ด้วงเจาะหน่อไผ่ โดยทั่วไปยังไม่มีการระบาดถึงระดับเศรษฐกิจ
2.หนู กัดกินและทำลายหน่อไม้ เกษตรกรผู้ปลูกสามารถดูแลและควบคุมได้ และยังไม่มีการระบาดถึงระดับเศรษฐกิจ

ไผ่ออกดอกแล้วแห้งตาย (ไผ่เป็นขี)
-สาเหตุ เกิดจากเหล่ากอต้นพันธุ์มีอายุมาก ซึ่งการนำมาขยายพันธุ์ไม่ทราบว่ากี่ชั่วอายุแล้ว
-การแก้ไข ถ้าหากต้นที่ปลูกไปแล้วออกดอกให้ขุดทิ้งแล้วปลูกทดแทน

ประโยชน์ของไม้ไผ่

ประโยชน์ของไม้ไผ่
  ไม้ไผ่ลำเล็กๆที่คนไทยรู้จักเป็นอย่างดีนั้น ประโยชน์ใช้สอยมากมายมหาศาลอย่างที่คนหลายคนคาดไม่ถึง ซึ่งเมื่อแบ่งออกเป็นหมวดหมู่และแยกออกเป็นประเภทๆแล้ว มนุษย์เราสามารถใช้ไม้ไผ่มาทำเป็นประโยชน์ได้ดังนี้
1.ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-ชะลอความเร็วของกระแสนำป่าเมื่อฤดูนำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-ให้ความร่มรื่น
-ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหยอนใจในบ้านเรือน
2.ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์
จากความแข็งแรง ความเหนียว การยืดหด ความโค้งงอและการสปริงตัว ซึ่งเป็นคุณลักษณะประจำตัวของไม้ผ่ เราสามารถนำมันมาใช้เป็นวัสดุเสริมในงานคอนกรีต และเป็นส่วนต่างๆ ของการสร้างที่อยู่อาศัยแบบประหยัดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
3.ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
-เนื้อไม้ใช้บดเป็นเยื่อกระดาษ
-เส้นใยใช้ทำไหมเทียม
-เนื้อไผ่บางชนิดสามารถสกัดทำยารักษาโรคได้
-ใช้ในงานอุตสาหกรรมนานาชนิด
4.การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรมและอุตสาหกรรม แบ่งออกได้ดังนี้
-ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด กระบุง กระด้ง กระเช้าผลไม้ ตะกร้าจ่ายตลาด ชะลอม ตะกร้าใส่ขยะ กระเป๋าถือสตรี เข่งใส่ขยะ
-เครืองมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา ลอบ ไซ ฯลฯ
-ผลิตภัณฑ์จากลำต้นและกิ่งของไม้ไผ่ ได้แก่ เก้าอี้ โต๊ะ ชั้นวางหนังสือ ทำด้ามไม้กวาด  ท่อส่งน้ำ รางน้ำ
-ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไม้ไผ่ ได้แก่ ถาดใส่ขนม ทัพพีไม้ ตะเกียบ กรอบรูป ไม้ก้านธูป ไม้พาย เครื่องดนตรี ไม้บรรทัด
-ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากไผ่ซีก ได้แก่ โครงโคมกระดาษ โครงพัด โครงร่ม ลูกระนาด พื้นม้านั่ง สุ่มปลา สุ่มไก่ เป็นต้น

ประเพณีไหลเรือไฟ

    เรือไฟ หรือ เฮือไฟ  หมายถึง เรือที่ำทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่ หรือ วัสดุ ที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่าง ๆ  ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น

     "ไหลเรือไฟ" เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่ง ที่พุทธศาสนิกชนอีสาน ยึดถือปฏิบัติ สืบทอด กันมาแต่ครั้งโบราณ ประเพณีการไหลเรือไฟ บางทีเรียกว่า "ล่องเรือไฟ"  "ลอยเรือไฟ" หรือ "ปล่อยเรือไฟ"  ซึ่งเป็นลักษณะที่เรือไฟเคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ

งานประเพณีไหลเรือไฟ นิยมปฏิบัติกันในเทศกาลออกพรรษา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ประเพณีไหลเรือไฟ มีความเชื่อเกี่ยวโยง สัมพันธ์กับข้อมูลความเป็นมาหลายประการ เช่น เนื่องจากการบูชารอยพระพุทธบาท  การสักการะพกาพรหม การบวงสรวงพระธาตุจุฬามณี  การระลึกถึงพระคุณ ของพระแม่คงคา เป็นต้น

เรือไฟประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นทุ่นสำหรับลอยน้ำ จะใช้ไม้ที่ลอยน้ำ มาผูกติดกันเป็นแพ และส่วนที่เป็นรูปร่างสำหรับจุดไฟ เป็นส่วนที่อยู่บนทุ่น ใช้ไม้ไผ่ ลำยาวแข็งแรง ตั้งปลายขึ้นทั้ง 3 ลำ เป็นเสารับน้ำหนักของแผลง และแผลงนี้ ก็ทำด้วยไม้ไผ่ขนาดเล็กมาผูกยึดไขว้กัน เป็นตารางสี่เหลี่ยม ระยะห่างกันประมาณ คืบเศษ มัดด้วยลวดให้แน่ วางราบบนพื้น เมื่อวางแผนงานออกแบบบนแผงว่า ควรเป็นภาพอะไร การออกแบบในสมัยก่อน ออกแบบเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ ศาสนาพุทธ  เช่น  พุทธประวัติ  เป็นต้น









อาหาร
แกงหน่อไม้ใบย่านาง



หน่อไม้เป็นต้นอ่อนของไผ่ ไม้ไผ่เป็นทรัพยากรป่าไม้ที่มีค่ายิ่งต่อชีวิตและความเป็นอยู่ประจำวันของคนไทย โดยเฉพาะชาวชนบทจะมีความสัมพันธ์กับไม้ไผ่อย่างแน่นแฟ้น ทุกส่วนของไม้ไผ่นับตั้งแต่รากถึงยอดจะใช้ประโยชน์ได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม เริ่มตั้งแต่รากฝอยของไม้ไผ่ช่วยยึดติดไม่ให้ดินพังทลาย ต้นอ่อนของไผ่หรือหน่อไม้เป็นอาหารธรรมชาติของคนไทยมาช้านาน เหง้าสามารถนำไปทำเครื่องประดับ กิ่งก้าน มัดรวมกันสามารถใช้ทำเป็นไม้กวาดได้ และลำไม้ไผ่ใช้ทำบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทำเครื่องเรือน ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร และภาชนะต่างๆ ทำเครื่องดนตรี เครื่องจักรสาน ใช้เป็นวัตถุ ดิบในอุตสาหกรรมผลินเยื่อกระดาษ การทำไหมเทียมตลอดจนไม้ไผ่นำมาทำเชื้อเพลิงได้
ส่วนที่ใช้เป็นอาหารได้แก่ หน่ออ่อนของไม้ไผ่หรือหน่อไม้ รับประทานเป็นผัก หน่อไม้เป็นผักที่มีมากในฤดูฝนพบในท้องตลาดทุกภาคของเมืองไทย ที่นิยมทำเป็นอาหารกันมากของชาวอีสาน คือ แกงหน่อไม้ใบย่านาง
เครื่องปรุง
  • หน่อไม้รวกเผา5 หน่อ (300 กรัม)
  • ใบย่านาง20 ใบ (115 กรัม)
  • เห็ดฟางฝ่าครึ่ง? ถ้วย (100 กรัม)
  • ชะอมเด็ดสั้น? ถ้วย (50 กรัม)
  • ฟักทองหั่นชิ้นพอคำ? ถ้วย (50 กรัม)
  • ข้าวโพดข้าวเหนียวฝานเอาแต่เมล็ด? ถ้วย (50 กรัม)
  • แมงลักเด็ดเป็นใบ? ถ้วย (50 กรัม)
  • ตะไคร้ทุบหั่นท่อน? 2 ต้น (60 กรัม)
  • น้ำปลาร้า3 ช้อนโต๊ะ (48 กรัม)
  • น้ำ3?4 ถ้วย (300?400 กรัม)
  • กระชายทุบ? ถ้วย (10 กรัม)
  • พริกขี้หนู10 เม็ด (10 กรัม)
  • ข้าวเบือ1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
  • น้ำปลา? 2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
หมายเหตุ ข้าวเบือ คือ ข้าวเหนียวแช่น้ำประมาณ 20 นาทีขึ้นไป
วิธีทำ
  • โขลกข้าวเบือให้ละเอียด
  • ปอกเปลือกหน่อไม้ ตัดส่วนแก่ทิ้ง ตัดเป็นท่อนยาว 2 นิ้ว ต้มน้ำทิ้ง 2-3 ครั้ง ให้หายขื่น
  • โขลกใบย่านาง แล้วนำไปคั้นกับน้ำ ให้น้ำใบย่านางออก กรองใส่หม้อ
  • นำหม้อที่ใส่น้ำใบย่านางยกขึ้นตั้งไฟ ใส่หน่อไม้พอเดือดใส่กระชาย พริกขี้หนู ตะไคร้ ข้าวเบือ น้ำปลาร้า น้ำปลา ต้มสักครู่ ใส่ฟักทอง เห็ดฟาง ข้าวโพด เมื่อทุกอย่างสุกทั่วกันดี ใส่ชะอม ใบแมงลัก ยกหม้อลง
สรรพคุณทางยา
1. หน่อไม้ มีรสขมหวานร้อน
  • ราก รสอร่อยเอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ
  • ใบไผ่ เป็นยาขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย
2. ย่านาง มีรสจืด ทั้งต้นนำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ
  • ใบ ใช้เป็นยาถอนพิษ ปรุงรวมกับยาอื่นแก้ไข้
  • ราก แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ เป็นเมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง
3. เห็ดฟาง (เห็ดบัว) รสจืด ให้พลังงานและสารอาหารโปรตีนที่มีคุณค่าแทนเนื้อสัตว์ช่วยกระจายโลหิต
4. ชะอม รากชะอมมีสรรพคุณแก้ท้องเฟ้อ ขับลมในลำไส้แก้อาการปวดเสียวในท้องได้ดี ยอดชะอมใบอ่อน มีรสจืด กลิ่นฉุน (กลิ่นหอมสุขุม) ช่วยลดความร้อนของร่างกาย
5. ฟักทอง มีคุณค่าทางอาหารสูง บำรุงสายตา บำรุงร่างกาย
??? 6. ข้าวโพด รสหวานมัน เมล็ด เป็นยาบำรุงกระเพาะอาหาร ฝาดสมาน บำรุงหัวใจ ปอด เจริญอาหาร ขับปัสสาวะ
  • ?ราก ต้มกินรักษานิ่ว และอาเจียน
7. แมงลัก ใบสด รสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง ขับลม
8. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
9. กระชาย รสร้อน แก้ท้องอืดเฟ้อ ขับลม แก้บิดมีตัว ขับพยาธิตัวกลม และพยาธิเส้นด้ายในเด็ก ใช้แต่งกลิ่น สี รสอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ไม่มีพิษ
10. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยย่อย
คุณค่าทางโภชนาการ
แกงหน่อไม้ใส่ใบย่านาง รสชาติโดยรวมจะออกไปทางขมร้อน จากการใส่ผักหลายชนิดซึ่งมีทั้งรสร้อน รสขม จืดมัน จึงช่วยในการบำรุงธาตุ ขับปัสสาวะ แก้ไข้ ขับลม และช่วยเจริญอาหาร

แกงหน่อไม้ใบหญ้านาง 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 422 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
- น้ำ 651.75 กรัม
- โปรตีน 31 กรัม
- ไขมัน 8.97 กรัม
- คาร์โบไฮเดรต 55 กรัม
- กาก 13.8 กรัม
- ใยอาหาร 1.125 กรัม
- แคลเซียม 372 มิลลิกรัม
- ฟอสฟอรัส 304.25 มิลลิกรัม
- เหล็ก 18 มิลลิกรัม
- เบต้า-แคโรทีน 9 ไมโครกรัม
- วิตามินเอ 17595.9 IU
- วิตามินบีหนึ่ง 0.694 มิลลิกรัม
- วิตามินปีสอง 1.4 มิลลิกรัม
- ไนอาซิน 22.2 มิลลิกรัม
- วิตามินซี 130 มิลลิกรัม
ผลิตภัณฑ์






     ปัจจุบัน นิยมออกแบบให้เข้ากับเหตุการณ์ เมื่อได้ภาพก็เริ่มทำลวดลายของภาพ โดยส่วนที่จะก่อให้เกิดลายนั้น เป็นไม้ไผ่อันเล็ก ๆ  และลวดคัดให้เป็นลาย ตามที่ต้องการ แล้วใช้ผ้าจีวรเก่า ๆ  มาฉีกเป็นริ้ว ๆ  ชุบน้ำมันยาง (ปัจจุบัน เปลี่ยนมาเป็นใช้น้ำมันโซล่า (ดีเซล)) เมื่อชุบแล้วก็นำไปตากนาน 6 - 7 วัน หรือ ไม่ตากก็ได้ แล้วนำมาพันกับเส้นลวดจนทั่วและมีริ้วผ้าเส้นเล็ก ๆ  วางแนบ เป็นแนวยาว ทำหน้าที่เป็นสายชนวน เมื่อเวลาจุดไฟ เมื่อเรียบร้อย นำไปปักไว้ กลางแพ โดยผูกติดกับไม้ไผ่ขนาดใหญ่ ที่เป็นฐาน เมื่อถึงเวลาก็จุดไฟ แล้ว
ในปัจจุบัน วิธีทำเรือไฟ มีการนำเอเทคโนโลยีแนวใหม่ ๆ  เข้ามาช่วย เช่น การใช้เรือจริง ๆ  แทนต้นกล้วยหรือไม้ไผ่ ใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันโซล่า (ดีเชล) แทนน้ำมันยาง หรือการใช้ไฟฟ้าประดับเรือแทนการใช้ริ้วผ้าชุบน้ำมันยาง เป็นต้น
     ประเพณีการไหลเรือไฟภาคอีสาน จะเป็นประเพณีที่คาบเกี่ยว ระหว่างเดือน สิบเอ็ด และเดือนสิบสอง ส่วนมากนิยมทำกันในวันขึ้น 15 ค่ำ หรือวันแรม 1 คำ เดือนสิบเอ็ด พอถึงวันงาน ชาวบ้าน พระภิกษุสงฆ์และสามเณร จะช่วยกันทำเรือไฟ เพือ่ไปลอยที่แม่น้ำ ในช่วงเช้าจะมีการประกอบการกุศล โดยการไปทำบุญตักบาตร
     มีการถวายภัตตาหารเพลแล้ว เลี้ยงญาติโยมที่มาในช่วงบ่าย มีการละเล่นต่าง ๆ  เพื่อความสนุกสนาน รวมทั้งมีการรำวงเป็นการฉลองเรือไฟ พอประมาณ 5 - 6 โมง เย็น หรือตอนพลบค่ำ มีการสวดมนต์รับศีลและฟังเทศน์ ถึงเวลาประมาณ 19 - 20 นาฬิกา ชาวบ้าน จะนำของกิน ผ้า เครื่องใช้ ขนม ข้าวต้มมัด  กล้วย อ้อย หมากพลู  บุหรี่ ฯลฯ ใส่ลงในกระจาดบรรจุไว้ในเรือไฟ ครั้งถึงเวลา จะจุดไฟให้เรือสว่าง แล้วปล่อยเรือให้ลอยไปตามแม่น้ำ
     จังหวัดที่เคยทำพิธีกรรมการไหลเรือไฟอย่างเป็นทางการ ได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ สกลนคร นครพนม หนอง เลย มหาสารคาม และ อุบลราชธานี
ผลิตภัณฑ์จักรสานจากไม้ไผ่