วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

น้ำหมักพืชสด

สูตรปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ
สูตรที่ 1 คุณสมยศ รักษาวงศ์
ส่วนผสม : ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน + กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน
วิธีผสม : ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ) ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี
การใช้ประโยชน์
1. ปุ๋ยชีวภาพแห้ง
ส่วนผสม : เศษวัสดุจากพืช 10 ปี๊บ + แกลบ 10 ปี๊บ + มูลสัตว์ 10 ปี๊บ + รำอ่อน 1 ปี๊บ + น้ำหมักพืช 1 ช้อนแกง + กากน้ำตาล 4 ช้อนแกง + น้ำ 1 ถังฝักบัว (18 ลิตร)
วิธีผสม : นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันนำน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล รดให้ทั่ว ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลอมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้ แล้วเกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันให้สูงจากพื้นไม่เกิน 30 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ยแสดงว่า จุลินทรีย์เริ่มทำงานทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออกคลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม อีก 3 - 4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็นถือว่า ใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็นจึงสามารถนำไปใช้ได้
2. ปุ๋ยคอกหมัก
วิธีทำ : นำมูลสัตว์ แกลบเผา และรำละเอียดมาผสม เข้าด้วยกัน นำน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลผสมน้ำรดกองปุ๋ยที่ผสมคลุกให้ทั่วให้มีความชื้นระดับเดียวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาไม่เกิน 15 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 3 - 5 วัน โดยไม่ต้องกลับเมื่อปุ๋ยเย็นลงนำไปใช้ได้
3. สารขับไล่แมลง
3.1) สูตรทั่วไป ส่วนผสม : นำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล เหล้าขาว น้ำส้มสายชู อย่างละ 1 ขวด (ขวดกลม) และน้ำสะอาด 10 ขวด
วิธีทำ : ผสมส่วนผสมให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้ 15 วัน (ควรมีฝาปิดมิดชิด) ระหว่างการหมัก (ช่วง 15 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวันเช้า - เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้นและเพื่อระบายแก๊สออกครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือน โดยไม่ต้องเปิดฝาระบายแก๊สเป็นครั้งคราว
การใช้ประโยชน์ : นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกงผสมกับน้ำ 10 ลิตร จากนั้นนำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น (ใช้บ่อยๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน) โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น สำหรับพืชที่กำลังแตกใบอ่อนให้ใช้ในอัตราส่วนที่เจือจางลงโดยหัวเชื้อที่ผสมน้ำแล้วหากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ข่า ตระไคร้หอม ยาสูบโดยนำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

3.2) สูตรเข้มข้น วิธีทำ : ใช้ส่วนผสมและวิธีทำเหมือนสูตรธรรมดา แต่เพิ่มปริมาณเหล้าขาวเป็น 2 ขวด
การใช้ประโยชน์ : ใช้ฉีดพ่นปราบหนอน และแมลงศัตรูพืชที่ปราบยาก เช่น หนอนกอกลม หนอนชอนใบ ฯลฯ โดยใช้สัดส่วนหัวเชื้อสูตรเข้มข้น 1 แก้ว ต่อน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม หรือใช้กำจัดเหาในศีรษะคน โดยเอาน้ำราดผมให้เปียกแล้วชะโลมด้วยหัวเชื้อสูตรเข้มข้นผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 หมักไว้ 30 นาที แล้วล้างออกให้สะอาด หรือใช้กำจัดเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยง
4. ฮอร์โมนพืช
ส่วนผสม : ประกอบด้วย กล้วยน้ำว้าสุก /ฟักทองแก่จัด /มะละกอสุก อย่างละ 1 ก.ก. น้ำหมักพืช 2 ช้อนแกง กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง และน้ำสะอาด 5 ลิตร
วิธีทำ : สับกล้วย ฟักทอง และมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้ละเอียด (ส่วนแรก) จากนั้นนำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล และน้ำสะอาดให้เข้ากัน (ส่วนที่สอง) จากนั้นนำส่วนผสมทั้งสองส่วนมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงปุ๋ยโดยหมักไว้ในถังพลาสติกปิดฝาระยะเวลา 7 - 8 วัน
การใช้ประโยชน์ : นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก (ในถังพลาสติก) ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ในช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดี ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองๆ ในถุงปุ๋ย ใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้แตกรากดี
การประยุกต์ใช้กับพืชการเกษตร
1. ข้าว ในพื้นที่นาข้าว 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 ก.ก. โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้
- ไถ่พรวน หว่านปุ๋ยชีวภาพ 100 ก.ก. (ต่อ 1 ไร่) ให้ทั่ว จากนั้นนำน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากน้ำหมักพืช 2 แก้ว กากน้ำตาล 2 แก้ว ในน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่นให้ทั่วแล้วไถพรวน ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำหมักพืชทำการย่อยสลายวัชพืชและเร่งการงอกของเมล็ดข้าว เมื่อไถพรวนแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำผสมน้ำหมักพืช และกากน้ำตาล ในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถกลบเพื่อทำลายวัชพืชให้เป็นปุ๋ยพืชสด ทิ้งไว้อีก 15 วัน แล้วจึงไถคราดเพื่อดำนาต่อไป
- ไถคราด พ่นน้ำหมักพืชผสมกากน้ำตาลและน้ำ อัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนไถคราดให้ทั่วเพื่อเตรียมปักดำ
- หลังปักดำ 7-15 วัน ให้หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 ก.ก. ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตราส่วนน้ำ 1 ถังแดงต่อน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
- ข้าวอายุ 1 เดือน หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 ก.ก. ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตราส่วนน้ำ 1 ถังแดงต่อน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
- ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย หว่านปุ๋ยชีวภาพ 40 ก.ก. ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล อย่างละ 1 แก้ว
- การป้องกันศัตรู ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดพ่นทุก 15 วัน โดยฉีดพ่นในช่วงเช้ามืดหรือช่วงเย็น หรือถ้ามีต้องการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ ให้เตรียมจากส่วนผสมของยาฉุน 2 - 3 ก.ก. + หนอนตายยาก 1 ก.ก. + น้ำสมสายชู 1 ลิตร + หล้าขาว 1 ขวด + กากน้ำตาล 1 ขวด หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 - 3 วัน แล้วฉีดพ่นในแปลงนาระยะปล่อยน้ำเข้า ช่วงเตรียมดินในอัตราส่วน 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
หมายเหตุ : ต่อพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยชีวภาพเฉลี่ย 200 ก.ก. ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพอาจต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก แต่เมื่อดินคืนสภาพสู่ความอุดมสมบูรณ์ดีแล้วปีต่อๆ ไป จะสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ ส่วนปริมาณผลผลิตในปีแรกอาจจะไม่เพิ่มกว่าปกติ แต่ในช่วงปีต่อไปๆ ไปปริมาณ ผลผลิตสูงขึ้นเรื่อย ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ย และเพิ่มปริมาณผลผลิต
2. ผักสวนครัว
- โรยปุ๋ยชีวภาพ 2 กำมือ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุมทับ
- รดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตรา 1 ช้อนแกง ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน จึงลงมือปลูก
- โรยปุ๋ยชีวภาพซ้ำรอบๆ ทรงพุ่ม (อย่าให้โดนใบหรือโคนต้น) เดือนละ 1 - 2 ครั้ง
- รดน้ำผสมน้ำหมักพืช อัตราส่วน 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว สัปดาห์ ละ 1 - 2 ครั้ง
- ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลง กากน้ำตาล (เพื่อช่วยจับใบ) ผสมน้ำฉีดพ่นเมื่อมีศัตรูพืชระบาด
3. ไม้ผลและไม้ยืนต้น
วิธีใช้ : ใช้ปุ๋ยชีวภาพรองก้นหลุม จำนวน 2 กำมือ คลุกกับดินก้นหลุมให้เข้ากัน รดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช (น้ำหมักพืช 1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร) ทิ้งไว้ 7 วัน จึงลงมือปลูกคลุมโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้วให้พรวนดิน และโรยปุ๋ยซ้ำรอบทรงพุ่ม ต้นละ 2 ก.ก. ต่อปี พร้อมกับรดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชเป็นระยะๆ
4. การแก้ปัญหาวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี
วิธีทำลายวัชพืช : ตัดหรือล้มวัชพืชต่างๆ ให้เกิดรอยช้ำ แล้วโรยปุ๋ยชีวภาพทับลงไปหรือไถพรวน จากนั้นฉีดพ่นซ้ำด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชปริมาณเข้มข้น (น้ำ 10 ส่วน ต่อน้ำหมักพืช 1 ส่วน) โดยใช้วิธีการนี้ก่อนการไถพื้นที่นาหรือใส่ล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน และหลังการเก็บเกี่ยว หากทำติดต่อกัน 3 ปี สภาพดินจะร่วนซุ่ยจนไม่จำเป็นต้องไถพรวนอีกต่อไป
5. การปศุสัตว์
การเลี้ยงสุกร ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำสะอาด 100 ลิตร ในภาชนะแล้วปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 3 วัน จึงนำไปใช้ประโยชน์ได้
- ทำความสะอาด ให้นำไปฉีดล้างคอกให้ทั่ว จะกำจัดกลิ่นมูลเก่าได้ภายใน 24 ช.ม. หากทำซ้ำทุกสัปดาห์ น้ำล้างคอกนี้จะช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่อและบ่อพักให้สะอาดขึ้นด้วย หรือถ้าผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 100 ลิตร ฉีดพ่นตามบ่อน้ำ เพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะเห็นผลใน 1 - 2 สัปดาห์
- ผสมอาหาร ให้ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 5 - 20 ถังแดง (โดยประมาณ) ให้สุกรกินทุกวันจะช่วยให้แข็งแรงมีความต้านทานโรค และป้องกันกลิ่นเหม็นจากมูลสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย กรณีลูกสุกรที่ท้องเสียให้ใช้น้ำหมักพืช (หัวเชื้อ) 5 ซี.ซี. หยอดเข้าปากจะรักษาอาการได้
หมายเหตุ : กรณีที่เลี้ยงวัว ควาย ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยผสมน้ำหมักพืช กากน้ำตาล และน้ำแล้วรดฟางหรือหัวอาหารให้กิน รวมทั้งใช้ผสมในน้ำให้กินทุกวัน
การเลี้ยงไก่ และสัตว์ปีกอื่นๆ ใช้น้ำหมักพืชผสมน้ำสะอาดให้กินทุกวันจะช่วยให้แข็งแรง ไข่ดก น้ำหนักดีอัตราการตายต่ำและมูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น หากใช้น้ำหมักพืชผสมน้ำฉีดพ่นตามพื้นที่กำจัด กลิ่นแก๊ส และกลิ่นเหม็นจากมูลทุก ๆ 4 วัน และยังช่วยกำจัด การขยายพันธุ์ของแมลงวันทางอ้อมด้วย

สูตรที่ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี
1. น้ำหมักชีวภาพจากปลา ส่วนผสม : เนื้อปลา น้ำกรดเข้มข้น 3% กากน้ำตาล 20% และหัวเชื้อจุลินทรีย์
วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 เดือน นำมากรองกากมาทำปุ๋ย และน้ำไปฉีดพ่น
การใช้ประโยชน์ : ใช้อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนเหมาะแก่การเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี หรือใช้ในนาข้าวช่วงก่อนหว่านข้าวฉีดพ่นพร้อมสารควบคุมวัชพืช อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร และหลังหว่านข้าว 20 วัน อัตรา 50 - 60 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยเร่งการแตกกอ และเพิ่มจำนวนต้น ต่อกอ รวมทั้งใช้ฉีดพ่นข้าวระยะตั้งท้องและน้ำนมด้วย
2. น้ำหมักชีวภาพจากเศษซากพืช ส่วนผสม : เศษพืช 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล 1 ส่วน
วิธีทำ : นำส่วนผสมรวมกันหมักทิ้งไว้นาน 3 เดือน
การใช้ประโยชน์ : ใช้เป็นปุ๋ยให้กับผัก หรือฉีดพ่นขับไล่แมลง และป้องกันกำจัดโรคบางชนิด
3. น้ำหมักสมุนไพร
3.1 พืชผักสวนครัว
ส่วนผสม : เมล็ดสะเดา 2 ก.ก หัวข่าแก่ 1 ก.ก. ตะไคร้หอม 1 ก.ก. และน้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร
วิธีทำ : นำส่วนผสมมาผสมรวมกัน
การใช้ประโยชน์ : ป้องกันเพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก หนอนกระทู้ หนอนคืบ เพลี้ยไฟในถั่วฝักยาว ถั่วพู แค คะน้า ฯลฯ
3.2 สวนไม้ผล
ส่วนผสม : เมล็ดสะเดา 2 ก.ก หัวข่าแก่ 1 ก.ก. ตะไคร้หอม 1 ก.ก. และน้ำหมักชีวภาพ 20 ลิตร
วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันทั้งหมดทิ้งไว้ 1 คืน แล้วใช้ผ้ากรองมาใช้ประโยชน์
การใช้ประโยชน์ : นำน้ำเชื้อที่ได้ 1 ลิตร ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นไม้ผลขณะแตกใบอ่อน ระยะออกดอก และมีผล เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ หนอนแก้วส้ม แมลงวันทอง ด้วงงวงมะพร้าว
สูตรที่ 3 เครือข่ายผัก โครงการพัฒนาเกษตรยั่งยืน 1. น้ำหมักสมุนไพร
ส่วนผสม : หางไหล บอระเพ็ด หนอนตายยาก ตะไคร้หอม เปลือกสะเดาหรือใบแก่ สาบเสือ ยาสูบ (ก้าน หรือใบสด ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้)
วิธีทำ : นำส่วนผสมมาสับให้ละเอียดใส่ในโองหรือถังใส่น้ำให้ท่วมฝามือ (30 - 50 ลิตร) จากนั้นใส่เหล้าขาว 1 ขวด ตามด้วยหัวน้ำส้ม 150 ซี.ซี. (ถ้าไม่มีใส่ผลมะกรูด หรือมะนาวผ่าซีก 2 ลูก) หากมีกลิ่นเหม็นให้ใส่กากน้ำตาล หมักไว้ 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้
การใช้ประโยชน์ : ขับไล่หนอนใย หนอนกระทู้ เพลี้ยอ่อน และป้องกันกำจัดโรคเน่า โรคใบไหม้ในผักบางชนิด
2. ปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรเร่งรัด (3 วัน) ส่วนผสม : มูล (วัว, เป็ด, หมู) 1 ปี๊บ ขี้เถ้าแกลบ 1 ปี๊บ รำละเอียด 1 ก.ก. น้ำหมักชีวภาพ 50 -100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
วิธีทำ : นำส่วนผสม มาคลุกเคล้า แล้วนำน้ำหมัก มารดให้ได้ ความชื้น 50% สังเกตได้จากกำมือแล้วแบออกปุ๋ยจะค่อยๆ แตกตัวออก ถ้าใช้ถุงพลาสติกคลุมหรือใช้กระสอบปุ๋ยหมักจะสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้เร็วขึ้น ปุ๋ยที่จะนำไปใช้ต้องหมดความร้อนก่อน
การใช้ประโยชน์ : แก้ปัญหาดินเสื่อมสภาพในแปลงผักโดยใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 ตันต่อไร่ (40 กระสอบ) หรือใช้น้ำหมักชีวภาพ ฉีดพ่นทางใบ อัตรา 30-40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 5 วัน หรือใช้ทางดิน อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ปล่อยตามท้องร่อง

สูตรที่ 4 เครือข่ายข้าว โครงการพัฒนาการเกษตรยั่งยืน
ส่วนผสม : เช่นเดียวกับสูตรที่ 1
วิธีทำ : เช่นเดียวกับสูตรที่ 1
การใช้ประโยชน์ : ใช้ในนาข้าวดังนี้
1. การป้องกันกำจัดวัชพืช ใช้อัตรา 3 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยปล่อยให้ไหลไปตามทางน้ำไหลเข้านา หรือจะใช้วิธีฉีดพ่น ใช้อัตรา 200 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่
2. ใช้แทนการปุ๋ยเคมี ให้เริ่มตั้งแต่ช่วงเตรียมดิน (ป้องกันกำจัดวัชพืช) และใช้ครั้งต่อไปหลังหว่านข้าว 10 - 15 วัน และใช้ต่อเนื่องทุก 10 วัน รวม 5 ครั้ง ใช้อัตรา 1 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร สำหรับพื้นที่ 1 ไร่
3. ลดการใช้ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่ง โดยงดการใช้ปุ๋ยแต่งหน้า แต่ใช้น้ำหมักชีวภาพแทนปฏิบัติดังนี้คือ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 15 ก.ก. ต่อไร่ หลังหว่านข้าว 15 - 20 วัน แล้วใช้นำหมักในอัตราเดียวกับข้อ 2
4. ป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ โดยใช้ส่วนผสมของยาฉุน 2 - 3 ก.ก. + หนอนตายยาก 1 ก.ก. + น้ำส้มสายชู 1 ลิตร + เหล้าขาว 1 ขวด + กากน้ำตาล 1 ขวด หมักทิ้งไว้ 2 - 3 วัน แล้วฉีดพ่นในแปลงนาระยะปล่อยน้ำเข้านาช่วงเตรียมดิน ในอัตราส่วน 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร

น้ำหมักสับปะรด

น้ำหมักชีวภาพ (Enzyme Ionic Plasma) (เรียก สารสักดชีวภาพ น้ำหมัก หรือ จุลินทรีย์) คือ ของเหลวสีน้ำตาล ที่มีทั้งจุลินทรีย์ และ สารอินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูก สามารถทำใช้ได้ทุกครัวเรือน นำผลไม้ หรือ พืชผัก และ เศษอาหาร มาหมักกับน้ำตาลทรายแดง, น้ำตาลอ้อย หรือ กากน้ำตาล หมัก ๑๕ วัน - ๓ เดือน(ยิ่งนานยิ่งดี) ก็จะได้น้ำหมักที่มีจุลินทรีย์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเกษตร ทำปุ๋ย รดน้ำต้นไม้ ชำระล้างคราบสกปรก ซักผ้า ล้างห้องน้ำ ดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ
วิธีทำ มี ๒ แบบ ๑. หมักแบบน้ำโอโซน ของ ดร.รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์
๒. หมักแบบแห้ง ไอเอ็มโอ ของ มร. ฮาน คิวโช จากเกาหลี
กลุ่มสันติชีวภาพได้ปรับวิธีการทำ ของ ดร. รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์ และ มร.ฮาน คิวโช เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และ ใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
สูตรสับปะรด
วัสดุ ๑. สับปะรด ๓ กก.
๒. น้ำตาลอ้อย ๑ กก.
๓. น้ำสะอาด ๘ ลิตร
วิธีทำ ๑. ใส่น้ำตาล และ น้ำลงไปในถัง คนให้ละลาย
๒. หั่นสับปะรดตามขวาง หรือ เป็นแว่น
๓. ใส่สับปะรด ไม่ควรใส่จนเต็ม เหลือไว้ประมาณ ๑ ส่วน ปิดฝาให้สนิท หมัก ๓ เดือน
สูตรมะเฟืองวัสดุ ๑. มะเฟือง ๓ กก.
๒. น้ำตาลอ้อย ๑ กก.
๓. น้ำสะอาด ๘ ลิตร
วิธีทำ ๑. ใส่น้ำตาล และ น้ำลงไปในถัง คนให้ละลาย
๒. หั่นมะเฟืองตามขวาง
๓. ใส่มะเฟือง ไม่ควรใส่จนเต็ม เหลือไว้ประมาณ ๑ ส่วน ปิดฝาให้สนิท หมัก ๓ เดือน (ใช้ล้างหน้าทำให้หน้าขาวนวล)
สูตรหมากซัก และ มะกรูดวัสดุ ๑. หมากซัก ๓ กก.
๒. มะกรูด ๑๕ ลูก
๓. น้ำตาลอ้อย ๑ กก.
๔. น้ำ ๑๐ ลิตร
วิธีทำ ๑. ล้างหมากซักให้สะอาด แช่น้ำ ๑ คืน
๒. ใช้มีดกรีดหมากซักเพื่อเอาเมล็ดออก
๓. มะกรูดเผาไฟ จนกระทั่งมีน้ำมันออกที่ผิว
๔. นำหมากซัก และ มะกรูดใส่ลงถัง
๕. เติมน้ำตาลอ้อย น้ำเปล่า
๖. ใช้กระดาษขาวแผ่นใหญ่ปิดถัง มัดด้วยเชือก หมัก ๑๕ วัน
จะได้หมากซักที่มีฟอง และ มีกลิ่นหอม
ทุกสูตร มีประโยชน์ดังนี้ ๑. ซักผ้า ล้างห้องน้ำ ล้างรถ เช็ดกระจก
๒. ผสมน้ำรดต้นไม้
๓. ทำปุ๋ย ใช้ในการเกษตร
๔. ใช้ใส่แผลฟกช้ำ
๕. ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
วิธีใช้ -ใช้น้ำหมัก ๓๐ ซีซี (๓ ช้อนโต๊ะ) : น้ำ ๑ ลิตร แช่ผ้า ๒๐-๓๐ นาที ซักขยี้ ล้างออกด้วยน้ำสะอาด
-ถ้ารดต้นไม้ น้ำหมัก : น้ำ = ๑ : ๕๐๐
-กากเอาไปทำปุ๋ย หมักไว้ใส่ต้นไม้
วิธีขยาย น้ำหมัก ๑ ส่วน น้ำตาล ๑ ส่วน น้ำ ๑๐ ส่วนถ้าเก็บไว้นานเท่าไหร่ยิ่งมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น
ข้อควรระวัง ปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันแมลงต่างๆ เพราะจะทำให้เกิดหนอน แต่ถึงมีหนอนก็นำมาใช้ได้
(ถ้าใส่หัวเชื้อเก่าลงไป ๑ ลิตร จะทำปฏิกิริยาเร็วขึ้น)
เก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หรือ ถูกฝน
น้ำหมักชีวภาพดับกลิ่นวัสดุ ๑. ผลไม้ หรือ เปลือกผลไม้ ๓ กก.
๒. น้ำตาลทรายแดง หรือ กากน้ำตาล ๑ กก.
๓. น้ำสะอาด ๑๐ ลิตรวิธีทำ ๑. ละลายน้ำตาลทรายแดงในน้ำสะอาด
๒. บรรจุน้ำตาลทรายแดง และ น้ำลงในโอ่งที่เตรียมไว้
๓. ใส่ผลไม้ หรือ เปลือกผลไม้ลงไป หมัก ๓ เดือน
๔. แยกน้ำใสออกหมักต่อในสัดส่วน หัวน้ำหมัก ๑ ลิตร น้ำตาลทรายแดง หรือ กากน้ำตาล ๑ กก. น้ำสะอาด ๑๐ ลิตร หมักไว้ ๒ เดือน ขยายต่อไปแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ทุก ๒ เดือน ยิ่งหมักไว้ได้นานๆ ก็ยิ่งดี
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพผลไม้๑. ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ, โถส้วม, ท่อระบายน้ำ
๒. ใช้รดต้นไม้ ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามดี
อัตราส่วนรดต้นไม้ น้ำหมัก : น้ำ = ๑ : ๕๐๐
ข้อควรระวัง ปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันแมลงต่างๆ
เพราะจะทำให้เกิดหนอน แต่ถึงมีหนอนก็นำมาใช้ได้
เก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หรือ ถูกฝน
สูตรแห้งวัสดุ ผัก หรือ ผลไม้ ๒-๓ กก. ต่อน้ำตาลทรายแดง ๑ กก.
วิธีทำ หั่นผัก หรือ ผลไม้ เป็นชิ้น ชิ้นละประมาณ ๒ ซม. แบ่งเคล้ากับน้ำตาลทรายแดง(น้ำอ้อย)ให้เข้ากันดี ใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ เว้นที่ ๑ ใน ๓ ของภาชนะ ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ ๑๐-๑๕ วัน จะมีน้ำออกมา นำน้ำหมักมาขยายในอัตราส่วน
น้ำหมัก : น้ำตาลทรายแดง : น้ำ ๑ : ๑ : ๘
หมักไว้อีก ๗-๑๕ วัน ก็นำมาใช้ได้ หรือ จะเติมน้ำ ๘ ลิตร ต่อน้ำตาลทรายแดง ๑ กก. ใส่ในถังก็ได้ หมักต่อ ๗-๑๕ วัน
(*ถ้าจะทำเป็นปุ๋ย ไม่ต้องขยาย เอามาผสมกับน้ำ ๑ ต่อ ๑,๐๐๐รดต้นไม้ได้เลย
*อนึ่งพืชที่จะนำมาหมักแบบแห้งนี้ หากเก็บเกี่ยวก่อนพระอาทิตย์ขึ้น จะเป็นช่วงเวลาดีที่สุด และ ไม่ต้องล้าง ถ้าเปียกฝนให้ผึ่งในที่ร่มให้หมาดก่อน ถ้าเปียกน้ำค้างไม่เป็นไร)
วิธีขยาย น้ำหมัก ๑ ส่วน น้ำตาล ๑ ส่วน น้ำ ๑๐ ส่วน หมักไว้ ๑ เดือน
ยิ่งเก็บไว้นาน ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น
ข้อควรระวัง ปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันแมลงต่างๆ เพราะจะทำให้เกิดหนอน แต่ถึงมีหนอนก็นำมาใช้ได้
เก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หรือ ถูกฝน
น้ำหมักชีวภาพสูตรปรุงแต่งวัสดุ ๑. น้ำหมักชีวภาพ(ยิ่งนานเป็นปียิ่งดี) ๒๐ลิตร
(ถ้าน้ำหมัก ไม่นานจะเสีย)
๒. น้ำด่าง ๑๐ ลิตร
๓. N ๗๐ ๑ กก.
๔. เกลือ ๕๐ กรัม
ต้องการกลิ่นก็เอาน้ำหมักมะกรูด หรือ ของหอมใส่
ถ้าไม่มี N ๗๐ จะใช้น้ำยาซักผ้า หรือ แชมพูก็ได้
วิธีทำ ๑. คน N ๗๐ กับเกลือให้เข้ากัน เติมน้ำด่างคนไปเรื่อยๆ
๒. เติมน้ำหมัก คนต่ออีกพอประมาณ N ๗๐ อาจละลายไม่หมดก็ไม่เป็นไร
ทิ้งไว้ ๑ คืนก็ใช้ได้ (ถ้าต้องการฟองมากก็เพิ่ม N ๗๐)
ประโยชน์ ๑. ซักผ้า ๒. ล้างห้องน้ำ
วิธีใช้ น้ำหมัก ๓ ฝา : น้ำ ๑ ขัน แช่ผ้า ๑๐-๑๕ นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด
สูตรปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพรดต้นไม้วัสดุ กล้วยสุก ๑ กก.
มะละกอสุก ๑ กก.
ฟักทอง ๑ กก.
น้ำตาลทรายแดง ๑ กก.
วิธีทำ ๑. หั่นกล้วย มะละกอ ฟักทองเป็นชิ้น ยาวประมาณชิ้นละ ๒ ซม.
๒. เคล้ากับน้ำตาลทรายแดง( หรือ น้ำอ้อย)ให้เข้ากัน เทใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ให้เหลือภาชนะที่ว่าง ๑ ใน ๓ ของภาชนะ
๓. หมักทิ้งไว้ ๑๐-๑๕ วัน ก็เอาน้ำมาใช้ผสมน้ำรดต้นไม้
วิธีใช้ รดต้นไม้ อัตราส่วน น้ำหมัก ๑ ส่วนผสมน้ำ ๑,๐๐๐ ส่วน รดเช้า เย็น
-กากที่เหลือเอาไปทำปุ๋ย แต่ต้องใส่น้ำ หรือ ผสมกับดิน ทำให้เจือจางก่อน อย่าใส่โดยตรง ต้นไม้จะตาย
- หรือ จะเติมน้ำตาลทรายแดง(น้ำอ้อย) ๑ กก. ต่อน้ำ ๘ ลิตร หมักต่ออีก ๑๕ วัน เอามาใช้ซักผ้า ล้างห้องน้ำได้
-น้ำหมักชีวภาพถ้าหมักจากพืชชนิดใด ถ้าเอาไปรดตัวของมันเอง จะให้ผลผลิตมากเป็นหลายเท่า เช่น ถ้าหมักจากมะเขือเทศ ก็เอาน้ำหมักมะเขือเทศ ไปรดต้นมะเขือเทศ ลูกมะเขือเทศจะดกมาก
น้ำหวานหมัก (สูตร มร.ฮาน คิวโช)๑. ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเก็บเกี่ยวพืช คือ ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ไม่ต้องล้าง เพราะไม่ต้องการให้จุลินทรีย์บนใบถูกชะล้าง ถ้าเปียกฝน ผึ่งในร่มให้หมาด เปียกน้ำค้างไม่เป็นไร เพราะน้ำค้างเป็นส่วนหนึ่งของพืช มีธาตุอาหารของพืชบางส่วน
๒. ตัดพืชเป็นท่อนๆ ยาว ๓-๕ ซม. สำหรับหยวก ซอยโคนให้เป็นแฉกๆ กว้างราว ๒ ซม. สับขวางอีกครั้ง ให้ยาว ๑-๒ ซม.
๓. ใช้น้ำตาลทรายแดงในอัตราส่วนครึ่งหนึ่งของน้ำหนักพืชสด
๔.ถ้ามีเกลือสินเธาว์(ไม่ใช่เกลือจากทะเล) ใช้เกลือผสมน้ำตาลในสัดส่วนเดิม คือมีน้ำหนักเท่ากับครึ่งหนึ่งของน้ำหนักพืช ควรใช้เกลือน้อยกว่าน้ำตาล เกลือสินเธาว์มีธาตุอาหารสำหรับพืชมาก
๕. เอาพืชหั่นแล้วครึ่งหนึ่งใส่อ่าง โรยน้ำตาลทรายแดงลงไปไม่ต้อง มากนัก คลุกเคล้าน้ำตาลเข้ากับพืชอย่างเบามือ กอบพืชใส่ไห
๖. พืชที่เหลือใส่ในอ่าง โรยน้ำตาลมากหน่อย คลุกเคล้าเบาๆ เติมน้ำตาลจนหมด เหลือน้ำตาลส่วนสุดท้ายปิดหน้าไห หมัก ๒ ชม.
๗. ค่อยๆกอบพืชที่เคล้าน้ำตาลหมักเติมลงในไห กดพืชให้แน่นด้วยปลายนิ้ว ใส่น้ำตาลที่เหลือ ปิดหน้าพืชให้ทึบ ทิ้งไว้ ๓ ชม.
๘. ใน ๓ ชั่วโมง พืชจะยุบตัว ให้เอาถุงพลาสติกใส่น้ำ ผูกปากให้แน่น วางทับเป็นน้ำหนักอีก ทิ้งไว้ ๑ คืน
๙. เอาถุงน้ำออก เอากระดาษสะอาดปิดปากไห ห้ามใช้กระดาษ น.ส.พ. ผ้าก็ไม่ดี เพราะไม่อาจขึงตึงได้ ผ้าหย่อน จุลินทรีย์จะฟักตัว
๑๐. วางไหในที่ร่ม อย่าให้ถูกฝน พืชส่วนใหญ่ใช้เวลาหมัก ๘-๑๐ วัน

จุลินทรีย์(น้ำหมักชีวภาพ)ภูมิปัญญาชาวบ้าน (เก็บจากประสบการณ์ผู้ใช้ ท่านลองไปทดลองดูเองอีกที)
มีประโยชน์เพื่อสุขภาพ และ รักษาสิ่งแวดล้อม ใช้เป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้ได้
ประโยชน์เพื่อสุขภาพ๑.ใช้แทนสบู่ได้ เพราะมีกรดอ่อนๆ
- จุลินทรีย์มะกรูด รักษาแผลน้ำเหลืองเสีย คันตามผิวหนังได้
- จุลินทรีย์ประคำดีควายใช้รักษากลากได้
- จุลินทรีย์มะเฟือง ช่วยให้หน้าขาวนวล
วิธีการใช้
น้ำจุลินทรีย์ ๓-๕ ฝาขวดน้ำดื่ม ต่อน้ำ ๑ ขัน ถูราดทั่วตัว ทิ้งไว้ ๒-๓ นาที ถูตัวอีกครั้ง ขจัดกลิ่นตัวได้ดี
๒.ใช้แทนยาสระผมได้- จุลินทรีย์มะกรูด เหมาะกับผมอ่อน
- จุลินทรีย์กะเม็ง เหมาะกับผมแข็ง
- จุลินทรีย์ข้าวกล้อง ทำให้ผมลื่นดี
- ทั้งหมดขจัดรังแคได้
วิธีการใช้ อัตราส่วน น้ำจุลินทรีย์ ๑ ส่วน : น้ำ ๕ ส่วน หมักผมไว้ ๒-๓ นาที ค่อยล้างออก
๓.ใช้แทนผงซักฟอก
วิธีการใช้ น้ำจุลินทรีย์ ๓-๕ ฝาขวดน้ำดื่ม ต่อน้ำ ๓ ขัน แช่ผ้าไว้ ๓-๑๒ ชั่วโมง หลังจากซักผ้าแล้ว นำน้ำซักผ้า และ น้ำแช่ผ้า ไปรดน้ำต้นไม้ จะเจริญเติบโตดีพอควร
หมายเหตุ : ภาชนะที่ใช้หมักอาจจะใช้ถังพลาสติกมีฝาปิด หรือ ไหดินเผา ไม่ควรใช้อะลูมิเนียม หรือ โลหะสเตนเลส
อนึ่ง ทุกสูตรถ้าใส่หัวเชื้อเดิมลงไปด้วย ๑ ลิตร จะใช้เวลาหมักเพียง ๑ เดือน ก็นำน้ำหมักมาใช้ได้
(ข้อมูลได้มาจากแหล่งต่างๆ เช่น จาก ดร.รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์ มร.ฮาน คิวโช และ จากประสบการณ์ของผู้ที่ทดลองทำเอง)
ตัวอย่างผู้ที่นำน้ำหมักชีวภาพ(สารสกัดชีวภาพ,จุลินทรีย์) ไปใช้ได้ผล และ ได้แจ้งมายังสหกรณ์เพื่อนช่วยเพื่อน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี โทร.(๐๓๖) ๕๘๑๙๒๒
ก.ใช้ในภาคเกษตร๑. นายสมัย เต็งล้ำ (๒ หมู่ ๗ ต.อินทร์ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี) โทร.(๐๓๖) ๕๘๑๙๒๒
ใช้กับผักหลายชนิด เช่น แตงกวา ผักกาดหอม มะเขือเทศ ฯลฯ ผักงาม แมลงรบกวนน้อย ใช้กับไม้ผล ก็ให้ผลใหญ่ และ รสชาติดี ใช้กับไม้ดอก ไม้ประดับ จะให้ดอกใหญ่ และ งามทน ไม่โรยง่าย
๒. นางประคอง(ข้างวัดโพธิ์ศรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี) โทร.(๐๓๖)๕๘๑๐๖๓
ใช้ในนาข้าวได้ผลดีมาก น้ำหนักดี รวงดก ใช้กับผัก ผักก็งาม ใช้กับกล้วยหอม ได้ลูกโตเกือบเท่าข้อมือ กล้วย ๑ หวี หนัก ๗ กก.
๓. นางสมวงศ์ จ้อยสองศรี (๙๓/๑ ม.๓ ต.ลานตากฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)
ใช้กับสวนส้ม และ ผลไม้อื่นๆ ประมาณ ๔๐-๕๐ ไร่ จากที่เคยลงทุนเดือนละหลายหมื่นบาท เป็นค่าปุ๋ยเคมี และ ยาฆ่าแมลง ปัจจุบันใช้แต่จุลินทรีย์ที่ผลิตเอง ลงทุนเพียงเดือนละไม่กี่พันบาท หนี้สินที่เคยมีหลายล้านบาทก็ลดลง
๔. หมอดิเรก (สวนอาหารโพธิสัตว์ ร้านบิ๊กเซียน ๑๙๖/๒ หมู่ ๘ ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมือง จ.ลพบุรี) โทร. (๐๓๖)๖๑๖๐๓๑
มีแปลงผักสาธิต ผักงามมาก ถั่วฝักยาวฝักใหญ่ยาวเท่าแขน กรอบอร่อย
๕. อาจารย์ชลอ รุ่งกำจัด (๓๑ ม. ๖ ต.บ้านจ่า อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี) โทร.(๐๓๖)๕๓๔๘๐๓
นักเผยแพร่จุลินทรีย์ระดับประเทศ มีความสามารถพิเศษตอนมะละกอได้ และ ทำแปลงผักทำหลุมปลูกต้นไม้แบบประหยัดน้ำ
๖. คุณสมพงษ์ คงจันทร์ โทร.(๐๓๖)๕๓๔๔๗๕ อดีตเกษตรอำเภอนักเผยแพร่ และ ผู้ชำนาญกสิกรรมธรรมชาติ จุลินทรีย์ และ ปุ๋ยหมัก รับปรึกษาปัญหาต่างๆ
๗. อาจารย์อุดม ศรีเชียงสา โทร.๐๑-๘๗๑๙๘๖๐ ใช้จุลินทรีย์กับแปลงผัก ได้ผักคะน้างามมาก วัดจากโคนต้นถึงยอดดอก สูง ๑๗๔ เซนติเมตร
๘. พระมหาอัคนิน พระนักพัฒนา วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
ใช้จุลินทรีย์รดต้นสาละ จะให้ดอกดก ขั้วดอกเหนียว เขย่าก็ไม่ร่วง นอกจากนี้ยังให้สามเณรนำไปทาแก้คัน ก็หายคัน และ นำไปซักผ้าก็สะอาด เหงื่อออกก็ไม่มีกลิ่นตัว
ข.ใช้แก้สิวฝ้า หน้าตกกระ ใบหน้าขาวนวล
๑. คุณเพ็ญประภา ระวิวรรณ โทร.(๐๑) ๙๖๖๖๔๑๖ นำสารสกัดชีวภาพสูตรมะเฟือง จากสหกรณ์เพื่อนช่วยเพื่อนสาขาอินทร์บุรี ไปใช้ได้ผล
๒. อาจารย์สุขสันต์ นันทเมธินทร์ ชุมชนหินผาฟ้าน้ำ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ใช้สารสกัดชีวภาพสูตรมะเฟือง ได้ผลดีมาก ใบหน้าขาวขึ้น
๓. คุณละเอียด ภูโอบ ร.ร.บ้านโนนสะอาด ต.โนนสะอาด อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ นำสารสกัดชีวภาพไปใช้กับใบหน้า ได้ผลดี
ค.ใช้ชำระล้าง ดับกลิ่นในห้องน้ำ และ อื่นๆ
๑. อาจารย์ภาณุ พิทักษ์เผ่า ร้านครัวเพื่อนสุขภาพ ๔๙ ถ.อนุสรณ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทร.(๐๗๔) ๓๔๖๔๓๖
ทำจุลินทรีย์ใช้กับห้องน้ำห้องส้วมจำหน่ายตามโรงแรมที่หาดใหญ่ ได้ผลดีกว่าสารเคมี ที่อันตราย และ กัดมือ
๒. ครูอำไพ คุณทองใบ คุณทองคำ ร้านบุญนิยม มังสวิรัติ ๒๓๗ ถ.สวนดอก
อ.เมือง จ.ลำปาง นำสารสกัดชีวภาพจากสหกรณ์เพื่อนช่วยเพื่อนไปใช้หลายสูตร ได้ผลดีมาก และ เป็นตัวแทนจำหน่ายด้วย

วันเข้าพรรษา

ความหมายของวันเข้าพรรษา
ภาพ:773.jpg
วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ปุริมพรรษา และปัจฉิมพรรษา
1. ปุริมพรรษา คือ การเข้าพรรษา 3 เดืิอนแรกแห่งฤดูฝน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ในปีปกติและอธิกวาร .ส่วนในปีอธิกมาสจะตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 88 หรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ราวเดือนตุลาคม
2. ปัจฉิมพรรษา คือ การอนุโลมเข้าพรรษาอีกอย่างหนึ่งตามพระวินัยสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์มีเหตุจำพรรษาไม่ทัน เป็นต้น โดยนับเอา 3 เดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน เรียกว่าเข้าพรรษาหลัง คือ มีวันเข้าพรรษาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 หรือราวเดือนสิงหาคมและจะออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ อันเป็นสิ้นสุดฤดูฝน หรือราวเดือนพฤศจิกายน. การจำพรรษาหลังนี้ ทางประเพณีไม่เป็นที่นิยม.

[แก้ไข] ประวัติความเป็นมาของวันเข้าพรรษา

ภาพ:Kaopansa1.gif
        "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลายๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้         โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์         การปฏิบัติตนในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง

[แก้ไข] ประเพณีสำคัญในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา

ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา พุทธศาสนิกชนมีประเพณีสำคัญ ดังนี้

[แก้ไข] ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา

ภาพ:Kao02.jpg
        ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา เป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด ๓ เดือนมาตั้งแต่โบราณกาล การหล่อเทียนเข้าพรรษานี้มีอยู่เป็นประจำทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้ พระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าเย็นและในการนี้จะต้องมีธูปเทียนจุดบูชาด้วย พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าในการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาหูตาสว่างไสวตามชนบท การหล่อเทียนเข้าพรรษาทำกันอย่างเอิกเกริกสนุกสนานมาก เมื่อหล่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการแห่แหนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดการตกแต่งมีการแห่แหนรอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวยงามและถือว่าเป็นงานประจำปีทีเดียว ในวันนั้นจะมีการร่วมกันทำบุญตักบาตรถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการร่วมกุศลกันในหมู่บ้านนั้น

[แก้ไข] ประเพณีตักบาตรดอกไม้

ภาพ:9990.jpg
        เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ความชุ่มชื้น บนเชิงเขาสุวรรณบรรพต จรดเทือกเขาวงใกล้รอยพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นจุดเริ่มต้นความสวยงาม ของมวลหมู่พันธุ์ไม้ หลากสีสัน เมื่อย่างเข้าสู่ช่วงวันเข้าพรรษาของทุกปี ดอกไม้ชนิดหนึ่ง จะบานสะพรั่งขาวนวลบริสุทธิ์ ท่ามกลางความเหลืองอร่ามปะปนสีม่วง แลดูสบายตาเหนือไหล่เขาสุวรรณบรรพตและเทือกเขาวง ชาวบ้าน เรียกดอกไม้ชนิดนี้ ว่า "ดอกเข้าพรรษา" ซึ่งเป็นสื่อกลางระหว่าง พุทธศาสนิกชนเพื่อส่งพุทธบูชา ศรัทธา แก่พระพุทธองค์ผ่านประเพณีตักบาตรดอกไม้ เนื่องในวันเข้าพรรษา ประเพณีตักบาตรดอกไม้ของชาวพุทธจะถือเอาวันเข้าพรรษาของทุกปี (ตรงกับแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ) เป็นวันตักบาตรดอกไม้ พุทธศาสนิกชน ทุกเพศ ทุกวัย จากทั่วประเทศ เข้าร่วมงานประเพณี "ตักบาตรดอกไม้" ด้วยความศรัทธา และร่วมสืบสานอีกหนึ่งวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของคนไทย
ภาพ:Flower2.gif
        "ดอกเข้าพรรษา" เป็นดอกไม้ชนิดหนึ่ง ต้นคล้ายๆ ต้นกระชาย หรือ ขมิ้น สูงประมาณ 1 คืบเศา ส่วนสีสันของดอกไม้เข้าพรรษานี้ บางต้นก็ผลิดอกสีเหลือง บางต้นก็สีขาว และบางต้นก็สีน้ำเงินม่วง ซึ่งหาได้ยาก ถือกันว่าถ้าใครออกไปเก็บดอกไม้เข้าพรรษาสีม่วงมาใส่บาตรได้ คนนั้นจะได้รับบุญกุศลมามายกว่าการนำดอกไม้สีอื่นๆ มาใส่บาตร ต้นดอกไม้เข้าพรรษานี้จะขึ้นตาม ไหล่เขาโพธิ์ลังกา หรือเขาสุวรรณบรรพต เทือกเขาวงและ เขาพุใกล้ๆ กับพระพุทธบาทที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่ง สำหรับต้นดอกไม้ชนิดนี้ก็คือการผลิดอก ถ้ามิใช่ฤดูกาลเริ่มเข้าพรรษา เช่น หน้าร้อน หน้าหนาว อย่างนี้ ต้นเข้าพรรษา จะไม่ผลิดอกออกมาให้เห็น จนชาวบ้านขนานนามให้เป็นที่เหมาะสมว่า "ต้นเข้าพรรษา"

วันเข้าพรรษา

วันอาสาฬหบูรชา

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 วันอาสาฬหบูชาเป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนา โปรดพระปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน จนพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้เป็นวันแรกที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นครบองค์พระรัตนตรัย

            วันอาสาฬหบูชา  เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดง พระปฐมเทศนา หรือการแสดง  พระธรรมครั้งแรก หลังจากที่ตรัสรู้ได้ 2 เดือน เป็นวันที่เริ่มประดิษฐานพระพุทธศาสนาเนื่องจากมีองค์ประกอบของ  พระรัตนตรัยครบถ้วนคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี ในวันเพ็ญ (ขึ้น 15ค่ำ) เดือน 8 ดวงจันทร์ เสวยมาฆฤกษ์
            การแสดงพระปฐมเทศนา ได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี พระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบ พระโกณฑัญญะ   หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ผู้ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ  ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม มีความเห็นแจ้งชัดว่า
ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ      สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา    สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา
            เมื่อได้ดวงตาเห็นธรรมจึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ประทานอุปสมบทให้ ด้วยวิธีที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยกล่าวคำว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด พระโกณฑัญญะจึงเป็น พระอริยสงฆ์องค์แรก
            คำว่าธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไปมีความโดยย่อว่า
            ที่สุด 2 อย่างที่บรรพชิตไม่ควรประพฤติปฏิบัติคือ การประกอบตนให้อยู่ในความสุขด้วยกาม ซึ่งเป็นธรรมอันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ที่สุดอีกทางหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้เกิดความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
            การดำเนินตามทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้  ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาและญาณให้เกิด เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ และนิพพาน ทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรค มีองค์แปด คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ดำริห์ชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ  และตั้งใจชอบ  อริยสัจสี่ คือความจริงอันประเสริฐที่พระองค์ค้นพบ มี 4 ประการได้แก่  
               ความทุกข์ ได้แก่ ความเกิด ความแก่ ความตาย ความได้พบกับสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้น ว่าโดยย่อ  อุปาทานในขันธ์ 5 เป็นทุกข์
               สาเหตุแห่งทุกข์  ได้แก่ ตัณหาความทะยานอยาก อันทำให้เกิดอีกความกำหนัด เพลิดเพลินในอารมณ์ คือกามตัณหา ความทะยานอยากในกาม ภวตัณหา ความทะยานในภพ วิภวตัณหา ความทะยานอยากในความไม่มีภพ
               ความดับทุกข์  โดยการดับตัณหาด้วยอริยมรรค คือ วิราคะ สละ ดับ ปล่อยไป ไม่พัวพัน
               หนทางปฏิบัติเพื่อดับทุกข์  ได้แก่ อริยมรรคมีองค์  8 คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ การเจรจาชอบ การกระทำชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ การระลึกชอบ และการตั้งจิตมั่นชอบ
                    ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า
                    นี้เป็นทุกข์ อันควรกำหนดรู้  และพระองค์ ได้กำหนดรู้แล้ว
                    นี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อันควรละ และพระองค์ ได้ละแล้ว
                    นี้เป็นความดับทุกข์ อันควรทำให้แจ้ง  และพระองค์ ได้ทำให้แจ้งแล้ว
                    นี้เป็นหนทางดับทุกข์ อันควรเจริญ  และพระองค์ ได้เจริญแล้ว
            สรุปได้ว่า ปัญญาอันรู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงในอริยสัจ 4   มีรอบ 3   มีอาการ 12   คือ   ขั้นแรก รู้ว่า อริยสัจแต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร ขั้นที่สองรู้ว่าควรจะทำอย่างไรในอริยสัจแต่ละประการนั้น และขั้นที่ 3 พระองค์ได้ กระทำตามนั้นสำเร็จเสร็จแล้ว
            พระองค์ทรงเน้นว่า จากการที่พระองค์ทรงค้นพบ คือตรัสรู้อริยสัจ 4 ประการนี้ การที่พระองค์ทรงกล้าปฏิญญา   ว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้รู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริง ในอริยสัจ 4 มี รอบ 3 มีอาการ 12 อย่างหมดจดดีแล้ว
            เมื่อพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า  ทรงประกาศพระธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ได้มีการบันลือต่อ ๆ กันไปให้ทราบทั่วกันว่า พระธรรมอันยอดเยี่ยมที่พระองค์ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันใคร ๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้
            วันอาสาฬหบูชามีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ 3 ประการคือ
            1.  เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร   ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย
            2. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทา ในวันนั้น
            3. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์

สมุนไพร




ลักษณะของพืช  เป็นไม้พุ่มสูงได้ถึง 2 เมตร ตามข้อและโคนก้านใบมีหนามแหลมคมสีน้ำตาลข้างละคู่ กิ่งและก้านมีสีน้ำตาลแดง ใบติดกับลำต้นแบบตรงกันข้าม ก้านใบยาวประมาณ 5 มม. ก้านใบตลอดจนเส้นกลางใบอาจจะมีสีแดงด้านเดียวหรือสองด้านก็ได้ ใบรูปร่างรียาว ขอบใบเกือบขนาน โคนใบและปลายใบแหลม ขนาดใบกว้าง 1–1.5 ซม. ยาว 5–10 ซม. ดอกออกรวมกันเป็นช่ออยู่ตามปลายยอด ช่อหนึ่งยาว 3–9 ซม. ขณะอ่อนจะเห็นใบประดับรูปกลมรี ขนาด 1–2 ซม. หุ้มดอกไว้ภายใน เมื่อดอกแก่จะโผล่เลยกลีบประดับออกมา กลีบดอกติดกันเป็นหลอดสีเหลือง ร่วงง่าย
ส่วนที่ใช้เป็นยา   ใบสด
สรรพคุณและวิธีใช้

   1.  ใช้รักษาโรคผิวหนังจำพวกเริมและงูสวัด โดยใช้ใบสดครั้งละ 1 กำมือ ตำให้ละเอียดแทรกพิมเสนเล็กน้อย นำมาทาหรือตำผสมเหล้าแล้วพอกบ่อย ๆ บริเวณที่เป็น (ขนาดที่ให้นี้สามารถเพิ่มหรือลดลงได้ตามอาการ)
     2.  ใช้แก้พิษแมลงสัตว์กัด ต่อย (ไม่รวมพิษงู)โดยใช้ 2 – 10 ใบ ขยี้หรือตำให้แหลก นำมาทาหรือพอก

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดอกไม้ไทยในวรรณคดี

ดอกไม้ไทยในวรรณคดี

ดอกไม้ในวรรณคดีไทย หมายถึงดอกไม้ที่บรรดากวีไทยท่านได้พรรณนาไว้เป็นบทร้อยกรองอย่างไพเราะในหนังสือวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา เงาะป่า ดาหลัง ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี บทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์   กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก  กาพย์ห่อนิราศธารทองแดง นิราศหริภุญชัย  นิราศพระประถม  นิราศสุพรรณ  นิราศเมืองแกลง  นิราศภูเขาทอง  นิราศอิเหนา   นิราศวัดเจ้าฟ้า  ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย 
              เป็นความสามารถเฉพาะตัวของกวีไทย  ที่ได้พรรณนาชื่อดอกไม้หลายชนิดไว้อย่างไพเราะ ทั้งลักษณะ  สีสัน กลิ่น ทำให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพ ประทับใจ เหมือนได้ไปอยู่ ณ ที่นั้นด้วย
การะเวก  (กระดังงาป่า  กระดังงาเถา)  เป็นไม้เลื้อยยืนต้น  เถาใหญ่ และมีหนาม  ใบเป็นใบปรเภทใบเดี่ยว
ใบหนาแน่น  และเขียวเป็นมัน  ดอกเป็นกลีบหนา   มี 6 กลีบซ้อนกัน 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ สีเหลืองอมเขียว
ออกดอก ตามกิ่งโคน  ใบ  กลิ่นหอมจัดในเวลาเย็นถึงค่ำ  ออกดอกตลอดปี    การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด
กาหลง  (ส้มเสี้ยว  เสี้ยวน้อย) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก  ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต  มีขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป 
ใบเป็นใบแฝดกลม  คล้ายใบชงโค  แต่ใบเล็กกว่าใบชงโคใบออกสลับกันตามข้อของลำต้น 
ดอกเป็นดอกเดี่ยว  มี 6 กลีบ   มีสีขาว บางครั้งก็ออกดอกเป็นช่อ มีกลิ่นหอมเรื่ย ๆ ออกดอกตลอดปี   
"พระอภัยมณีศรีสุวรรณ               
ต่างชิงกันเก็บพลางตามทางมา
พระพี่เก็บ กาหลง ส่งให้น้อง               
เดินประคองเคียงกันด้วยหรรษา"
การขยายพันธุ์  โดยการเพาะเมล็ด  หรือกิ่งตอน   สรรพคุณทางสมุนไพร   ดอกรับประทานแก้ปวดศีรษะ
ลดความดันโลหิต   แก้เลือดออกตามไรฟัน และแก้เสมหะ   
                             
จำปา  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  ลำต้นสีน้ำตาลปนขาวและมีปุ่มเล็ก ๆ ตามต้น กิ่งเปราะ
ใบสีเขียวยาว และใหญ่ ปลายใบแหลม คล้ายใบมะม่วง  ใบจะแตกตามกิ่งก้านของลำต้น 
ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามโคนใบ   กลีบยาว  มีประมาณ 8 - 10 กลีบ  ซ้อนกันเป็นชั้น 
ดอกสีเหลืองแก่  มีเกสรสีเขียวอ่อนอยู่ตรงกลาง  กลิ่นหอมเย็นออกดอกตลอดปี 
การขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งสรรพคุณทางสมุนไพรดอกและเมล็ดใช้ทำยาแก้ไข้
แก้โรคธาตุเสีย   แก้คลื่นเหียน  วิงเวียน  นอกจากนั้นดอกยังใช้ทำอุบะห้อยพวงมาลัย