วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ดอกไม้ไทยในวรรณคดี

ดอกไม้ไทยในวรรณคดี

ดอกไม้ในวรรณคดีไทย หมายถึงดอกไม้ที่บรรดากวีไทยท่านได้พรรณนาไว้เป็นบทร้อยกรองอย่างไพเราะในหนังสือวรรณคดี เช่น รามเกียรติ์ อิเหนา เงาะป่า ดาหลัง ขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี บทเห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์   กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก  กาพย์ห่อนิราศธารทองแดง นิราศหริภุญชัย  นิราศพระประถม  นิราศสุพรรณ  นิราศเมืองแกลง  นิราศภูเขาทอง  นิราศอิเหนา   นิราศวัดเจ้าฟ้า  ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย 
              เป็นความสามารถเฉพาะตัวของกวีไทย  ที่ได้พรรณนาชื่อดอกไม้หลายชนิดไว้อย่างไพเราะ ทั้งลักษณะ  สีสัน กลิ่น ทำให้ผู้อ่านเกิดมโนภาพ ประทับใจ เหมือนได้ไปอยู่ ณ ที่นั้นด้วย
การะเวก  (กระดังงาป่า  กระดังงาเถา)  เป็นไม้เลื้อยยืนต้น  เถาใหญ่ และมีหนาม  ใบเป็นใบปรเภทใบเดี่ยว
ใบหนาแน่น  และเขียวเป็นมัน  ดอกเป็นกลีบหนา   มี 6 กลีบซ้อนกัน 2 ชั้น ๆ ละ 3 กลีบ สีเหลืองอมเขียว
ออกดอก ตามกิ่งโคน  ใบ  กลิ่นหอมจัดในเวลาเย็นถึงค่ำ  ออกดอกตลอดปี    การขยายพันธุ์ใช้เมล็ด
กาหลง  (ส้มเสี้ยว  เสี้ยวน้อย) เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก  ลำต้นสูงประมาณ 5 ฟุต  มีขึ้นอยู่ตามป่าเบญจพรรณทั่วไป 
ใบเป็นใบแฝดกลม  คล้ายใบชงโค  แต่ใบเล็กกว่าใบชงโคใบออกสลับกันตามข้อของลำต้น 
ดอกเป็นดอกเดี่ยว  มี 6 กลีบ   มีสีขาว บางครั้งก็ออกดอกเป็นช่อ มีกลิ่นหอมเรื่ย ๆ ออกดอกตลอดปี   
"พระอภัยมณีศรีสุวรรณ               
ต่างชิงกันเก็บพลางตามทางมา
พระพี่เก็บ กาหลง ส่งให้น้อง               
เดินประคองเคียงกันด้วยหรรษา"
การขยายพันธุ์  โดยการเพาะเมล็ด  หรือกิ่งตอน   สรรพคุณทางสมุนไพร   ดอกรับประทานแก้ปวดศีรษะ
ลดความดันโลหิต   แก้เลือดออกตามไรฟัน และแก้เสมหะ   
                             
จำปา  เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง  ลำต้นสีน้ำตาลปนขาวและมีปุ่มเล็ก ๆ ตามต้น กิ่งเปราะ
ใบสีเขียวยาว และใหญ่ ปลายใบแหลม คล้ายใบมะม่วง  ใบจะแตกตามกิ่งก้านของลำต้น 
ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามโคนใบ   กลีบยาว  มีประมาณ 8 - 10 กลีบ  ซ้อนกันเป็นชั้น 
ดอกสีเหลืองแก่  มีเกสรสีเขียวอ่อนอยู่ตรงกลาง  กลิ่นหอมเย็นออกดอกตลอดปี 
การขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งสรรพคุณทางสมุนไพรดอกและเมล็ดใช้ทำยาแก้ไข้
แก้โรคธาตุเสีย   แก้คลื่นเหียน  วิงเวียน  นอกจากนั้นดอกยังใช้ทำอุบะห้อยพวงมาลัย
  
     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น