วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

น้ำหมักสับปะรด

น้ำหมักชีวภาพ (Enzyme Ionic Plasma) (เรียก สารสักดชีวภาพ น้ำหมัก หรือ จุลินทรีย์) คือ ของเหลวสีน้ำตาล ที่มีทั้งจุลินทรีย์ และ สารอินทรีย์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเพาะปลูก สามารถทำใช้ได้ทุกครัวเรือน นำผลไม้ หรือ พืชผัก และ เศษอาหาร มาหมักกับน้ำตาลทรายแดง, น้ำตาลอ้อย หรือ กากน้ำตาล หมัก ๑๕ วัน - ๓ เดือน(ยิ่งนานยิ่งดี) ก็จะได้น้ำหมักที่มีจุลินทรีย์ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเกษตร ทำปุ๋ย รดน้ำต้นไม้ ชำระล้างคราบสกปรก ซักผ้า ล้างห้องน้ำ ดับกลิ่นเหม็นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ
วิธีทำ มี ๒ แบบ ๑. หมักแบบน้ำโอโซน ของ ดร.รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์
๒. หมักแบบแห้ง ไอเอ็มโอ ของ มร. ฮาน คิวโช จากเกาหลี
กลุ่มสันติชีวภาพได้ปรับวิธีการทำ ของ ดร. รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์ และ มร.ฮาน คิวโช เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และ ใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
สูตรสับปะรด
วัสดุ ๑. สับปะรด ๓ กก.
๒. น้ำตาลอ้อย ๑ กก.
๓. น้ำสะอาด ๘ ลิตร
วิธีทำ ๑. ใส่น้ำตาล และ น้ำลงไปในถัง คนให้ละลาย
๒. หั่นสับปะรดตามขวาง หรือ เป็นแว่น
๓. ใส่สับปะรด ไม่ควรใส่จนเต็ม เหลือไว้ประมาณ ๑ ส่วน ปิดฝาให้สนิท หมัก ๓ เดือน
สูตรมะเฟืองวัสดุ ๑. มะเฟือง ๓ กก.
๒. น้ำตาลอ้อย ๑ กก.
๓. น้ำสะอาด ๘ ลิตร
วิธีทำ ๑. ใส่น้ำตาล และ น้ำลงไปในถัง คนให้ละลาย
๒. หั่นมะเฟืองตามขวาง
๓. ใส่มะเฟือง ไม่ควรใส่จนเต็ม เหลือไว้ประมาณ ๑ ส่วน ปิดฝาให้สนิท หมัก ๓ เดือน (ใช้ล้างหน้าทำให้หน้าขาวนวล)
สูตรหมากซัก และ มะกรูดวัสดุ ๑. หมากซัก ๓ กก.
๒. มะกรูด ๑๕ ลูก
๓. น้ำตาลอ้อย ๑ กก.
๔. น้ำ ๑๐ ลิตร
วิธีทำ ๑. ล้างหมากซักให้สะอาด แช่น้ำ ๑ คืน
๒. ใช้มีดกรีดหมากซักเพื่อเอาเมล็ดออก
๓. มะกรูดเผาไฟ จนกระทั่งมีน้ำมันออกที่ผิว
๔. นำหมากซัก และ มะกรูดใส่ลงถัง
๕. เติมน้ำตาลอ้อย น้ำเปล่า
๖. ใช้กระดาษขาวแผ่นใหญ่ปิดถัง มัดด้วยเชือก หมัก ๑๕ วัน
จะได้หมากซักที่มีฟอง และ มีกลิ่นหอม
ทุกสูตร มีประโยชน์ดังนี้ ๑. ซักผ้า ล้างห้องน้ำ ล้างรถ เช็ดกระจก
๒. ผสมน้ำรดต้นไม้
๓. ทำปุ๋ย ใช้ในการเกษตร
๔. ใช้ใส่แผลฟกช้ำ
๕. ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
วิธีใช้ -ใช้น้ำหมัก ๓๐ ซีซี (๓ ช้อนโต๊ะ) : น้ำ ๑ ลิตร แช่ผ้า ๒๐-๓๐ นาที ซักขยี้ ล้างออกด้วยน้ำสะอาด
-ถ้ารดต้นไม้ น้ำหมัก : น้ำ = ๑ : ๕๐๐
-กากเอาไปทำปุ๋ย หมักไว้ใส่ต้นไม้
วิธีขยาย น้ำหมัก ๑ ส่วน น้ำตาล ๑ ส่วน น้ำ ๑๐ ส่วนถ้าเก็บไว้นานเท่าไหร่ยิ่งมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น
ข้อควรระวัง ปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันแมลงต่างๆ เพราะจะทำให้เกิดหนอน แต่ถึงมีหนอนก็นำมาใช้ได้
(ถ้าใส่หัวเชื้อเก่าลงไป ๑ ลิตร จะทำปฏิกิริยาเร็วขึ้น)
เก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หรือ ถูกฝน
น้ำหมักชีวภาพดับกลิ่นวัสดุ ๑. ผลไม้ หรือ เปลือกผลไม้ ๓ กก.
๒. น้ำตาลทรายแดง หรือ กากน้ำตาล ๑ กก.
๓. น้ำสะอาด ๑๐ ลิตรวิธีทำ ๑. ละลายน้ำตาลทรายแดงในน้ำสะอาด
๒. บรรจุน้ำตาลทรายแดง และ น้ำลงในโอ่งที่เตรียมไว้
๓. ใส่ผลไม้ หรือ เปลือกผลไม้ลงไป หมัก ๓ เดือน
๔. แยกน้ำใสออกหมักต่อในสัดส่วน หัวน้ำหมัก ๑ ลิตร น้ำตาลทรายแดง หรือ กากน้ำตาล ๑ กก. น้ำสะอาด ๑๐ ลิตร หมักไว้ ๒ เดือน ขยายต่อไปแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ทุก ๒ เดือน ยิ่งหมักไว้ได้นานๆ ก็ยิ่งดี
ประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพผลไม้๑. ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ, โถส้วม, ท่อระบายน้ำ
๒. ใช้รดต้นไม้ ทำให้ต้นไม้เจริญงอกงามดี
อัตราส่วนรดต้นไม้ น้ำหมัก : น้ำ = ๑ : ๕๐๐
ข้อควรระวัง ปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันแมลงต่างๆ
เพราะจะทำให้เกิดหนอน แต่ถึงมีหนอนก็นำมาใช้ได้
เก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หรือ ถูกฝน
สูตรแห้งวัสดุ ผัก หรือ ผลไม้ ๒-๓ กก. ต่อน้ำตาลทรายแดง ๑ กก.
วิธีทำ หั่นผัก หรือ ผลไม้ เป็นชิ้น ชิ้นละประมาณ ๒ ซม. แบ่งเคล้ากับน้ำตาลทรายแดง(น้ำอ้อย)ให้เข้ากันดี ใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ เว้นที่ ๑ ใน ๓ ของภาชนะ ปิดฝาให้สนิท ทิ้งไว้ ๑๐-๑๕ วัน จะมีน้ำออกมา นำน้ำหมักมาขยายในอัตราส่วน
น้ำหมัก : น้ำตาลทรายแดง : น้ำ ๑ : ๑ : ๘
หมักไว้อีก ๗-๑๕ วัน ก็นำมาใช้ได้ หรือ จะเติมน้ำ ๘ ลิตร ต่อน้ำตาลทรายแดง ๑ กก. ใส่ในถังก็ได้ หมักต่อ ๗-๑๕ วัน
(*ถ้าจะทำเป็นปุ๋ย ไม่ต้องขยาย เอามาผสมกับน้ำ ๑ ต่อ ๑,๐๐๐รดต้นไม้ได้เลย
*อนึ่งพืชที่จะนำมาหมักแบบแห้งนี้ หากเก็บเกี่ยวก่อนพระอาทิตย์ขึ้น จะเป็นช่วงเวลาดีที่สุด และ ไม่ต้องล้าง ถ้าเปียกฝนให้ผึ่งในที่ร่มให้หมาดก่อน ถ้าเปียกน้ำค้างไม่เป็นไร)
วิธีขยาย น้ำหมัก ๑ ส่วน น้ำตาล ๑ ส่วน น้ำ ๑๐ ส่วน หมักไว้ ๑ เดือน
ยิ่งเก็บไว้นาน ก็ยิ่งมีประสิทธิภาพมากเท่านั้น
ข้อควรระวัง ปิดฝาให้สนิทเพื่อป้องกันแมลงต่างๆ เพราะจะทำให้เกิดหนอน แต่ถึงมีหนอนก็นำมาใช้ได้
เก็บไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หรือ ถูกฝน
น้ำหมักชีวภาพสูตรปรุงแต่งวัสดุ ๑. น้ำหมักชีวภาพ(ยิ่งนานเป็นปียิ่งดี) ๒๐ลิตร
(ถ้าน้ำหมัก ไม่นานจะเสีย)
๒. น้ำด่าง ๑๐ ลิตร
๓. N ๗๐ ๑ กก.
๔. เกลือ ๕๐ กรัม
ต้องการกลิ่นก็เอาน้ำหมักมะกรูด หรือ ของหอมใส่
ถ้าไม่มี N ๗๐ จะใช้น้ำยาซักผ้า หรือ แชมพูก็ได้
วิธีทำ ๑. คน N ๗๐ กับเกลือให้เข้ากัน เติมน้ำด่างคนไปเรื่อยๆ
๒. เติมน้ำหมัก คนต่ออีกพอประมาณ N ๗๐ อาจละลายไม่หมดก็ไม่เป็นไร
ทิ้งไว้ ๑ คืนก็ใช้ได้ (ถ้าต้องการฟองมากก็เพิ่ม N ๗๐)
ประโยชน์ ๑. ซักผ้า ๒. ล้างห้องน้ำ
วิธีใช้ น้ำหมัก ๓ ฝา : น้ำ ๑ ขัน แช่ผ้า ๑๐-๑๕ นาที ล้างออกด้วยน้ำสะอาด
สูตรปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพรดต้นไม้วัสดุ กล้วยสุก ๑ กก.
มะละกอสุก ๑ กก.
ฟักทอง ๑ กก.
น้ำตาลทรายแดง ๑ กก.
วิธีทำ ๑. หั่นกล้วย มะละกอ ฟักทองเป็นชิ้น ยาวประมาณชิ้นละ ๒ ซม.
๒. เคล้ากับน้ำตาลทรายแดง( หรือ น้ำอ้อย)ให้เข้ากัน เทใส่ภาชนะที่เตรียมไว้ให้เหลือภาชนะที่ว่าง ๑ ใน ๓ ของภาชนะ
๓. หมักทิ้งไว้ ๑๐-๑๕ วัน ก็เอาน้ำมาใช้ผสมน้ำรดต้นไม้
วิธีใช้ รดต้นไม้ อัตราส่วน น้ำหมัก ๑ ส่วนผสมน้ำ ๑,๐๐๐ ส่วน รดเช้า เย็น
-กากที่เหลือเอาไปทำปุ๋ย แต่ต้องใส่น้ำ หรือ ผสมกับดิน ทำให้เจือจางก่อน อย่าใส่โดยตรง ต้นไม้จะตาย
- หรือ จะเติมน้ำตาลทรายแดง(น้ำอ้อย) ๑ กก. ต่อน้ำ ๘ ลิตร หมักต่ออีก ๑๕ วัน เอามาใช้ซักผ้า ล้างห้องน้ำได้
-น้ำหมักชีวภาพถ้าหมักจากพืชชนิดใด ถ้าเอาไปรดตัวของมันเอง จะให้ผลผลิตมากเป็นหลายเท่า เช่น ถ้าหมักจากมะเขือเทศ ก็เอาน้ำหมักมะเขือเทศ ไปรดต้นมะเขือเทศ ลูกมะเขือเทศจะดกมาก
น้ำหวานหมัก (สูตร มร.ฮาน คิวโช)๑. ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเก็บเกี่ยวพืช คือ ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ไม่ต้องล้าง เพราะไม่ต้องการให้จุลินทรีย์บนใบถูกชะล้าง ถ้าเปียกฝน ผึ่งในร่มให้หมาด เปียกน้ำค้างไม่เป็นไร เพราะน้ำค้างเป็นส่วนหนึ่งของพืช มีธาตุอาหารของพืชบางส่วน
๒. ตัดพืชเป็นท่อนๆ ยาว ๓-๕ ซม. สำหรับหยวก ซอยโคนให้เป็นแฉกๆ กว้างราว ๒ ซม. สับขวางอีกครั้ง ให้ยาว ๑-๒ ซม.
๓. ใช้น้ำตาลทรายแดงในอัตราส่วนครึ่งหนึ่งของน้ำหนักพืชสด
๔.ถ้ามีเกลือสินเธาว์(ไม่ใช่เกลือจากทะเล) ใช้เกลือผสมน้ำตาลในสัดส่วนเดิม คือมีน้ำหนักเท่ากับครึ่งหนึ่งของน้ำหนักพืช ควรใช้เกลือน้อยกว่าน้ำตาล เกลือสินเธาว์มีธาตุอาหารสำหรับพืชมาก
๕. เอาพืชหั่นแล้วครึ่งหนึ่งใส่อ่าง โรยน้ำตาลทรายแดงลงไปไม่ต้อง มากนัก คลุกเคล้าน้ำตาลเข้ากับพืชอย่างเบามือ กอบพืชใส่ไห
๖. พืชที่เหลือใส่ในอ่าง โรยน้ำตาลมากหน่อย คลุกเคล้าเบาๆ เติมน้ำตาลจนหมด เหลือน้ำตาลส่วนสุดท้ายปิดหน้าไห หมัก ๒ ชม.
๗. ค่อยๆกอบพืชที่เคล้าน้ำตาลหมักเติมลงในไห กดพืชให้แน่นด้วยปลายนิ้ว ใส่น้ำตาลที่เหลือ ปิดหน้าพืชให้ทึบ ทิ้งไว้ ๓ ชม.
๘. ใน ๓ ชั่วโมง พืชจะยุบตัว ให้เอาถุงพลาสติกใส่น้ำ ผูกปากให้แน่น วางทับเป็นน้ำหนักอีก ทิ้งไว้ ๑ คืน
๙. เอาถุงน้ำออก เอากระดาษสะอาดปิดปากไห ห้ามใช้กระดาษ น.ส.พ. ผ้าก็ไม่ดี เพราะไม่อาจขึงตึงได้ ผ้าหย่อน จุลินทรีย์จะฟักตัว
๑๐. วางไหในที่ร่ม อย่าให้ถูกฝน พืชส่วนใหญ่ใช้เวลาหมัก ๘-๑๐ วัน

จุลินทรีย์(น้ำหมักชีวภาพ)ภูมิปัญญาชาวบ้าน (เก็บจากประสบการณ์ผู้ใช้ ท่านลองไปทดลองดูเองอีกที)
มีประโยชน์เพื่อสุขภาพ และ รักษาสิ่งแวดล้อม ใช้เป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้ได้
ประโยชน์เพื่อสุขภาพ๑.ใช้แทนสบู่ได้ เพราะมีกรดอ่อนๆ
- จุลินทรีย์มะกรูด รักษาแผลน้ำเหลืองเสีย คันตามผิวหนังได้
- จุลินทรีย์ประคำดีควายใช้รักษากลากได้
- จุลินทรีย์มะเฟือง ช่วยให้หน้าขาวนวล
วิธีการใช้
น้ำจุลินทรีย์ ๓-๕ ฝาขวดน้ำดื่ม ต่อน้ำ ๑ ขัน ถูราดทั่วตัว ทิ้งไว้ ๒-๓ นาที ถูตัวอีกครั้ง ขจัดกลิ่นตัวได้ดี
๒.ใช้แทนยาสระผมได้- จุลินทรีย์มะกรูด เหมาะกับผมอ่อน
- จุลินทรีย์กะเม็ง เหมาะกับผมแข็ง
- จุลินทรีย์ข้าวกล้อง ทำให้ผมลื่นดี
- ทั้งหมดขจัดรังแคได้
วิธีการใช้ อัตราส่วน น้ำจุลินทรีย์ ๑ ส่วน : น้ำ ๕ ส่วน หมักผมไว้ ๒-๓ นาที ค่อยล้างออก
๓.ใช้แทนผงซักฟอก
วิธีการใช้ น้ำจุลินทรีย์ ๓-๕ ฝาขวดน้ำดื่ม ต่อน้ำ ๓ ขัน แช่ผ้าไว้ ๓-๑๒ ชั่วโมง หลังจากซักผ้าแล้ว นำน้ำซักผ้า และ น้ำแช่ผ้า ไปรดน้ำต้นไม้ จะเจริญเติบโตดีพอควร
หมายเหตุ : ภาชนะที่ใช้หมักอาจจะใช้ถังพลาสติกมีฝาปิด หรือ ไหดินเผา ไม่ควรใช้อะลูมิเนียม หรือ โลหะสเตนเลส
อนึ่ง ทุกสูตรถ้าใส่หัวเชื้อเดิมลงไปด้วย ๑ ลิตร จะใช้เวลาหมักเพียง ๑ เดือน ก็นำน้ำหมักมาใช้ได้
(ข้อมูลได้มาจากแหล่งต่างๆ เช่น จาก ดร.รสสุคนธ์ พุ่มพันธุ์วงศ์ มร.ฮาน คิวโช และ จากประสบการณ์ของผู้ที่ทดลองทำเอง)
ตัวอย่างผู้ที่นำน้ำหมักชีวภาพ(สารสกัดชีวภาพ,จุลินทรีย์) ไปใช้ได้ผล และ ได้แจ้งมายังสหกรณ์เพื่อนช่วยเพื่อน อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี โทร.(๐๓๖) ๕๘๑๙๒๒
ก.ใช้ในภาคเกษตร๑. นายสมัย เต็งล้ำ (๒ หมู่ ๗ ต.อินทร์ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี) โทร.(๐๓๖) ๕๘๑๙๒๒
ใช้กับผักหลายชนิด เช่น แตงกวา ผักกาดหอม มะเขือเทศ ฯลฯ ผักงาม แมลงรบกวนน้อย ใช้กับไม้ผล ก็ให้ผลใหญ่ และ รสชาติดี ใช้กับไม้ดอก ไม้ประดับ จะให้ดอกใหญ่ และ งามทน ไม่โรยง่าย
๒. นางประคอง(ข้างวัดโพธิ์ศรี อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี) โทร.(๐๓๖)๕๘๑๐๖๓
ใช้ในนาข้าวได้ผลดีมาก น้ำหนักดี รวงดก ใช้กับผัก ผักก็งาม ใช้กับกล้วยหอม ได้ลูกโตเกือบเท่าข้อมือ กล้วย ๑ หวี หนัก ๗ กก.
๓. นางสมวงศ์ จ้อยสองศรี (๙๓/๑ ม.๓ ต.ลานตากฟ้า อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม)
ใช้กับสวนส้ม และ ผลไม้อื่นๆ ประมาณ ๔๐-๕๐ ไร่ จากที่เคยลงทุนเดือนละหลายหมื่นบาท เป็นค่าปุ๋ยเคมี และ ยาฆ่าแมลง ปัจจุบันใช้แต่จุลินทรีย์ที่ผลิตเอง ลงทุนเพียงเดือนละไม่กี่พันบาท หนี้สินที่เคยมีหลายล้านบาทก็ลดลง
๔. หมอดิเรก (สวนอาหารโพธิสัตว์ ร้านบิ๊กเซียน ๑๙๖/๒ หมู่ ๘ ต.นิคมสร้างตนเอง อ.เมือง จ.ลพบุรี) โทร. (๐๓๖)๖๑๖๐๓๑
มีแปลงผักสาธิต ผักงามมาก ถั่วฝักยาวฝักใหญ่ยาวเท่าแขน กรอบอร่อย
๕. อาจารย์ชลอ รุ่งกำจัด (๓๑ ม. ๖ ต.บ้านจ่า อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี) โทร.(๐๓๖)๕๓๔๘๐๓
นักเผยแพร่จุลินทรีย์ระดับประเทศ มีความสามารถพิเศษตอนมะละกอได้ และ ทำแปลงผักทำหลุมปลูกต้นไม้แบบประหยัดน้ำ
๖. คุณสมพงษ์ คงจันทร์ โทร.(๐๓๖)๕๓๔๔๗๕ อดีตเกษตรอำเภอนักเผยแพร่ และ ผู้ชำนาญกสิกรรมธรรมชาติ จุลินทรีย์ และ ปุ๋ยหมัก รับปรึกษาปัญหาต่างๆ
๗. อาจารย์อุดม ศรีเชียงสา โทร.๐๑-๘๗๑๙๘๖๐ ใช้จุลินทรีย์กับแปลงผัก ได้ผักคะน้างามมาก วัดจากโคนต้นถึงยอดดอก สูง ๑๗๔ เซนติเมตร
๘. พระมหาอัคนิน พระนักพัฒนา วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร อ.เมือง จ.สิงห์บุรี
ใช้จุลินทรีย์รดต้นสาละ จะให้ดอกดก ขั้วดอกเหนียว เขย่าก็ไม่ร่วง นอกจากนี้ยังให้สามเณรนำไปทาแก้คัน ก็หายคัน และ นำไปซักผ้าก็สะอาด เหงื่อออกก็ไม่มีกลิ่นตัว
ข.ใช้แก้สิวฝ้า หน้าตกกระ ใบหน้าขาวนวล
๑. คุณเพ็ญประภา ระวิวรรณ โทร.(๐๑) ๙๖๖๖๔๑๖ นำสารสกัดชีวภาพสูตรมะเฟือง จากสหกรณ์เพื่อนช่วยเพื่อนสาขาอินทร์บุรี ไปใช้ได้ผล
๒. อาจารย์สุขสันต์ นันทเมธินทร์ ชุมชนหินผาฟ้าน้ำ อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ ใช้สารสกัดชีวภาพสูตรมะเฟือง ได้ผลดีมาก ใบหน้าขาวขึ้น
๓. คุณละเอียด ภูโอบ ร.ร.บ้านโนนสะอาด ต.โนนสะอาด อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ นำสารสกัดชีวภาพไปใช้กับใบหน้า ได้ผลดี
ค.ใช้ชำระล้าง ดับกลิ่นในห้องน้ำ และ อื่นๆ
๑. อาจารย์ภาณุ พิทักษ์เผ่า ร้านครัวเพื่อนสุขภาพ ๔๙ ถ.อนุสรณ์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โทร.(๐๗๔) ๓๔๖๔๓๖
ทำจุลินทรีย์ใช้กับห้องน้ำห้องส้วมจำหน่ายตามโรงแรมที่หาดใหญ่ ได้ผลดีกว่าสารเคมี ที่อันตราย และ กัดมือ
๒. ครูอำไพ คุณทองใบ คุณทองคำ ร้านบุญนิยม มังสวิรัติ ๒๓๗ ถ.สวนดอก
อ.เมือง จ.ลำปาง นำสารสกัดชีวภาพจากสหกรณ์เพื่อนช่วยเพื่อนไปใช้หลายสูตร ได้ผลดีมาก และ เป็นตัวแทนจำหน่ายด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น